โครงการศึกษาพฤติกรรมการขับรถยนต์ 9 ด้านผ่านเทคโนโลยี Data Recorder : Digital Tachograph มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการขับรถยนต์ 9 ด้าน ในการสร้างความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนนของบุคลากรภาคขนส่ง โดยได้รับความร่วมมือจากผู้เข้าร่วมโครงการที่เป็นพนักงานขับรถจาก หน่วยงานต่างๆ ได้แก่ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการ โรงเรียนอนุบาล ภาคผู้ประกอบการขนส่ง และภาคเอกชน กลุ่มผู้ขับขี่รถยนต์ แบ่งได้เป็น 3 ประเภท ได้แก่
1. รถบรรทุกขนาด 4 ล้อ (รถนักเรียน รถกระบะ และรถตู้) จำนวน 73 คัน
2. รถบรรทุกขนาด 6 ล้อ จำนวน 49 คัน
3. รถบรรทุก ขนาด 10 ล้อ และ รถเทรนเลอร์ จำนวน 180 คัน
จากกลุ่มตัวอย่างพนักงานขับรถ จำนวน 302 คน ที่เข้าร่วมโครงการระหว่างเดือน พฤศจิกายน 2563 - กันยายน 2564 และได้รับการทดสอบและอบรมแล้วพบว่า พฤติกรรมการขับขี่ทั้ง 9 ด้าน มีแนวโน้มที่ดีขึ้น
การแสดงพฤติกรรมที่เสี่ยงต่ออันตรายและความสูญเสียลดลง ได้แก่
1. การใช้ความเร็วเกินกำหนด
2. การใช้รอบเครื่องยนต์เกินกำหนด
3. จำนวนครั้งที่รถออกตัวกะทันหัน
4. จำนวนครั้งที่รถเร่งความเร็วกะทันหัน
5. จำนวนครั้งที่ลดความเร็วกะทันหัน
จากกรณีศึกษานี้พบว่า ผู้เข้าร่วมโครงการที่ผ่านการอบรมในโครงการ นวัตกรรมการขับขี่ปลอดภัย ด้วย Digital Platform จำนวน 208 ชั่วโมง สามารถเข้ารับการอบรมได้โดย ไม่เสียงาน ไม่เสียเวลา ไม่เสียรายได้ การอบรมด้วยหลักสูตรนี้ทำให้ผู้เข้าร่วมโครงการตระหนักถึงพฤติกรรมการขับขี่ที่ดี มีความปลอดภัยต่อตนเอง และผู้อื่น
หากหลักสูตรนี้ได้รับการขยายผลไปสู่การปฎิบัติในวงที่กว้างขึ้นกระจายไปในภาคขนส่งทั่วประเทศ จะสามารถพัฒนาบุคลากรภาคขนส่งที่มีจำนวนมากกว่า 1,741,000 ราย ให้มีศักยภาพมีวินัยการขับขี่อย่างปลอดภัยที่สามารถลดการสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินได้
ทั้งนี้ การศึกษาวิจัยนี้ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจาก กองทุนเพื่อความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน (กปถ.) กรมการขนส่งทางบก