วันนี้ (วันที่ 27 พฤษภาคม 2565) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี จัดงาน “มหกรรมงานวิจัยส่วนภูมิภาค ประจำปี 2565 (Regional Research Expo 2022)”จัดขึ้นระหว่างวันที่ 27-29 พฤษภาคม 2565 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
โดยมี ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กล่าวเปิดงานและปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “อว. กับการขับเคลื่อนนโยบายเศรษฐกิจ BCG เป็นฐานในการพัฒนาชาติ” ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวรายงาน นายกองเอกปราโมทย์ ธัญญพืช รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี และ นายอิทธิศักดิ์ ตันติสุทธาพงศ์ อุปนายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี กล่าวต้อนรับ พร้อมด้วย ศาสตราจารย์ ดร.นายแพทย์สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัดกระทรวงกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และผู้บริหารหน่วยงานร่วมจัดให้เกียรติเข้าร่วมพิธีเปิดงานในครั้งนี้ภายในงานมีการจัดนิทรรศการ “การพลิกโฉมกรอบนโยบายและแนวทางพัฒนากำลังคน อุดมศึกษา วิจัยและนวัตกรรมของประเทศกับการขับเคลื่อน BCG” โดย นายพันธุ์เพิ่มศักดิ์ อารุณี ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านพัฒนาทรัพยากรบุคคล ปฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารโครงการตามนโยบาย สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นผู้บรรยาย และมีการเสวนาพิเศษ “การเตรียมความพร้อมของนักวิจัยเพื่อขอทุนวิจัยของประเทศ จากหน่วยงานให้ทุนวิจัยทั้ง 7 PMU” พร้อมทั้งการประชุมเครือข่ายสถาบันวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏภาคอีสาน ร่วมด้วย
ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กล่าวว่า การจัดงาน “มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ” (Thailand Research Expo) เป็นพลังแห่งความร่วมมือยกระดับผลงานวิจัยเพื่อแก้ปัญหาส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก
อว.เป็นกระทรวงหลักในการขับเคลื่อนการขยายผลการนำองค์ความรู้จากผลงานวิจัย เทคโนโลยี และนวัตกรรมไปสู่การใช้ประโยชน์ระดับพื้นที่ในวงกว้างและเป็นรูปธรรมเพื่อสร้างแรงบันดาลใจและแรงกระตุ้น ให้กับบุคลากรจากสถาบันการศึกษา หน่วยงานวิจัยทั้งภาครัฐและเอกชนการผนึกกำลังนักวิจัยในแต่ละพื้นที่ก่อให้เกิดนักวิจัยรุ่นใหม่ การนำองค์ความรู้จากผลงานวิจัยและนวัตกรรม ไปพัฒนาหรือสร้างสรรค์ พร้อมทั้งต่อยอด ผลงานวิจัย สิ่งประดิษฐ์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม
ที่มีคุณภาพ สอดคล้องกับความต้องการของประเทศไปสู่ประเทศที่พัฒนาแล้ว รวมไปถึงบทบาทของ อว. ในการขับเคลื่อน BCG Model ให้เป็นต้นแบบการพัฒนาเศรษฐกิจแบบองค์รวม ที่จะพัฒนาเศรษฐกิจ 3 มิติไปพร้อมกัน ได้แก่ เศรษฐกิจชีวภาพ( Bioeconomy) ระบบเศรษฐกิจชีวภาพ มุ่งเน้นการใช้ทรัพยากรชีวภาพเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม โดยเน้นการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์มูลค่าสูง เชื่อมโยงกับ เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) คำนึงถึงการนำวัสดุต่าง ๆ กลับมาใช้ประโยชน์ให้มากที่สุดภายใต้เศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) ควบคู่ไปกับการพัฒนาสังคมและการรักษาสิ่งแวดล้อมเชื่อมโยงกับการยกระดับเศรษฐกิจฐานรากการนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเข้าไปมีส่วนช่วยเกษตรกรให้สามารถพัฒนาและเพิ่มมูลค่าของสินค้าและยังต่อยอดไปถึงธุรกิจการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ โดยทั้งเกษตรกรรมและการท่องเที่ยวภายในประเทศแสดงให้เห็นถึงความสามารถของบุคลากรที่เกี่ยวข้อง รวมถึงทรัพยากรคุณภาพของประเทศ สามารถลดต้นทุนการผลิต และการวิจัย อีกทั้งยังบริหารจัดการภายในได้อย่างรวดเร็วและมีมาตรฐานระดับสากลเพื่อให้เกิดเศรษฐกิจ BCG ที่เติบโต แข่งขันได้ในระดับโลก เกิดการกระจายรายได้ลงสู่ชุมชน ลดความเหลื่อมล้ำมุ่งสู่การพัฒนาในการประยุกต์โมเดลเศรษฐกิจใหม่ BCG สร้างความเข้มแข็งและการสร้างรายได้ การพัฒนาท้องถิ่นอย่างมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนต่อไป
ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า การจัดงาน “มหกรรมงานวิจัยส่วนภูมิภาค” วช. ได้จัดให้มีขึ้นโดยข้อเสนอแนะของผู้บริหารหน่วยงานเครือข่ายในระบบวิจัยทั้ง 4 ภูมิภาค เพื่อให้การนำเสนอผลงานวิจัยได้ขยายขอบเขตของการใช้ประโยชน์จากงานวิจัยในภูมิภาคต่างๆ มากยิ่งขึ้น ซึ่งได้ดำเนินการจัดมา 9 ครั้ง
โดยหมุนเวียนการจัดงานในภูมิภาคต่างๆ และมีมหาวิทยาลัยในแต่ละภูมิภาคเป็นเจ้าภาพร่วมจัดงาน ซึ่งครั้งแรกจัดขึ้นในปี 2556 ในภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นภาคแรก แล้วเวียนไปยังภาคเหนือ ภาคใต้ ตามลำดับ ในการจัดงาน “มหกรรมงานวิจัยส่วนภูมิภาค” ในปีนี้จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 10
โดยมี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี และเครือข่ายวิจัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นเจ้าภาพร่วมจัดงาน จัดขึ้นระหว่างวันที่ 27 - 29 พฤษภาคม 2565 ภายใต้แนวคิดหลัก “นวัตกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ BCG เพื่อการพัฒนาท้องถิ่นอีสานอย่างยั่งยืน” โดยการจัดงานมีความมุ่งหมายเพื่อเป็นกลไกขับเคลื่อนงานวิจัยและนวัตกรรมในการพัฒนาเชิงพื้นที่ด้วยวิจัยและนวัตกรรม ส่งเสริมเศรษฐกิจภูมิภาค เศรษฐกิจชุมชนที่ยั่งยืน โดยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในพื้นที่ ทั้งนี้ การจัดงาน “มหกรรมงานวิจัยส่วนภูมิภาค ประจำปี 2565 (Regional Research Expo 2022)” Highlight Stage เป็นเวทีหลักที่แสดงให้เห็นแนวคิดของการจัดงาน “นวัตกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ BCG เพื่อการพัฒนาท้องถิ่นอีสานอย่างยั่งยืน” กิจกรรม Research Clinic: R2R การพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย สำหรับบุคลากรสายสนับสนุนในสถาบันอุดมศึกษา ประโยชน์จากงานวิจัยในภูมิภาคต่างๆ สู่การยกระดับศักยภาพผลงานวิจัยชุมชนเข้มแข็ง มีความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาสู่การขับเคลื่อนตามหลักของนโยบายเศรษฐกิจ BCG เป็นฐานในการพัฒนาชาติที่ยั่งยืนต่อไป
ทั้งนี้กิจกรรมภายในงาน ประกอบด้วย นิทรรศการโครงการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว,นิทรรศการการวิจัยของหน่วยงาน
นักวิจัยในพื้นที่, เครือข่ายการวิจัยในภูมิภาค ,นิทรรศการนำเสนอผลงานนานาชาติและประเทศเพื่อนบ้าน ,นิทรรศการอุทยานวิทยาศาสตร์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ,กิจกรรม Highlight Stage , พื้นที่ให้คำปรึกษาความรู้จากงานวิจัย ,ตลาดนัดผลงานวิจัยที่ได้รับการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา ,
การประชุมเสวนา ตลอดทั้ง 3 วัน ใน 3 ประเด็นหลัก ประกอบด้วย ห้องย่อยที่ 1 นวัตกรรม เพื่อการขับเคลื่อน BCG , ห้องย่อยที่ 2 BCG กับยุทธศาสตร์การพัฒนาภาคอีสาน และห้องย่อยที่ 3 การพลิกโฉม กรอบนโยบายและแนวทางพัฒนา กำลังคนอุดมศึกษา วิจัย และนวัตกรรมของประเทศ กับการขับเคลื่อน BCG และพื้นที่นิทรรศการ Highlight เพื่อแสดงให้เห็นแนวคิดของการจัดงาน “นวัตกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ BCG เพื่อการพัฒนาท้องถิ่นอีสานอย่างยั่งยืน”
Maggi รายงาน