รศ.ดร.ประมุข อุณหเลขกะ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ (มทรส.) เปิดเผยว่ากระทรวงอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)ได้จัดให้มีโครงการแพลตฟอร์มบริหารจัดการทรัพยากรผู้มีศักยภาพ ของ กลุ่มมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล
ซึ่งมีทั้งหมด 9 แห่งทั่วประเทศ เพื่อปฏิรูปการพัฒนากำลังคนของประเทศ หรือที่รู้จักกันในชื่อ “TRM-RMUT: Talent Resource Management” โดยโครงการนี้เป็นการรวมกลุ่มทำงานของ 9 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล เพื่อผลักดันนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการให้เกิดกลไกการทำงานร่วมกันระหว่างสถาบันอุดมศึกษาและภาคอุตสาหกรรม (University Industrial linkage) ในการพัฒนาแนวคิดและค่านิยมของอาจารย์ในการทำงานร่วมกับภาคอุตสาหกรรม และสร้างความยั่งยืนด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมไทยภายใต้ฐานความคิดการใช้พื้นฐานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในการวิเคราะห์และแก้ปัญหา โดยได้รับงบประมาณผ่านหน่วยบริหารและจัดการทุนวิจัยด้านการพัฒนากำลังคน และทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา การวิจัยและการสร้างนวัตกรรม (บพค.)
รศ. ดร.ประมุข กล่าวต่อไปว่า สำหรับโครงการนี้อาจารย์และนักวิจัยของ มทรส. ได้รับอนุมัติโครงการวิจัยมากที่สุดในโครงการแพลตฟอร์มดังกล่าว จำนวน 40 โครงการ คิดเป็นร้อยละ 25.80 ของโครงการวิจัยทั้งหมดที่ได้รับอนุมัติให้ดำเนินการ (จาก 155 โครงการ)
โดยได้รับงบประมาณรวม 5,182,000 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 26.60 จากยอดงบประมาณรวม 19,480,000 ล้านบาท และจากการดำเนินงานวิจัยที่ทำร่วมกับชุมชน ภาคประกอบการ และอุตสาหกรรมดังกล่าว อาจารย์และนักวิจัยของ มทรส. ได้รับคิดเลือกให้ได้รับรางวัล Poster award (การนำเสนอบทความยอดเยี่ยม) จำนวน 4 รางวัล และรางวัล New Talent Award(นักวิจัยรุ่นใหม่) จำนวน 1 รางวัลด้วย
ซึ่งในเรื่องนี้สภามหาวิทยาลัยได้ให้ความสำคัญและเห็นชอบประกาศเรื่องนโยบายสภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิพ.ศ 2565 เมื่อวันที่ 10 สิงหาคมที่ผ่านมา โดยถือเป็นนโยบายสำคัญด้านการวิจัยและสร้างนวัตกรรมโดยเฉพาะมุ่งเน้น การทำวิจัยและสร้างนวัตกรรมที่สอดคล้องกับความต้องการและความจำเป็นของประเทศและส่งเสริมให้มีการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์สนับสนุนการพัฒนาบุคลากรในด้านการวิจัยและการสร้างนวัตกรรมสู่เชิงพาณิชย์บริหารงานวิจัยและนวัตกรรมอย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมจัดตั้งศูนย์ความเป็นเลิศทางวิชาการ ศูนย์วิจัยและนวัตกรรม เพื่อแปลงผลงานวิจัยให้เป็นรูปธรรมเน้นการมีส่วนร่วมของผู้ใช้ประโยชน์จากงานวิจัยร่วมกับภาครัฐและภาคเอกชนทั้งในประเทศและต่างประเทศ