วช. เปิดเวที “Research Expo Talk” โชว์ผลงานวิจัยในมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2565
สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ภายใต้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
เปิดเวที “Research Expo Talk” โชว์ ผลงานวิจัยที่ วช. ให้การสนับสนุนและผลักดันงานวิจัยและนวัตกรรมไปสู่การใช้ประโยชน์ได้อย่างเป็นรูปธรรม ในงานมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2565 (Thailand Research Expo 2022) ครั้งที่ 17 ภายใต้แนวคิด “วิจัยเพื่อพัฒนาประเทศ สู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน” เมื่อวันที่ 1 – 5 สิงหาคม 2565 ที่ผ่านมา ณ โรงแรมเซ็นทาราและบางกอกคอนเวชันเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพมหานคร
ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า กิจกรรมบนเวที “Research Expo Talk” ที่จัดขึ้นในครั้งนี้ เพื่อเผยแพร่ผลการดำเนินงานการ ของ วช. ในการสนับสนุนและผลักดันงานวิจัยและนวัตกรรมไปสู่การใช้ประโยชน์ได้อย่างเป็นรูปธรรม และเพื่อส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจ ด้านการวิจัยและนวัตกรรม ให้แก่ประชาชนทั่วไป
รวมถึงการประชาสัมพันธ์และจัดแสดงผลงานวิจัยและนวัตกรรมที่โดดเด่น ของ วช. และสร้างความตระหนัก การรับรู้ ต่อภาครัฐและเอกชน ซึ่งกิจกรรมบนเวที “Research Expo Talk” จะสับเปลี่ยนหมุนเวียนกันไป นักวิจัยมาให้ความรู้จำนวนมาก
โดย มีเนื้อหาที่น่าสนใจต่าง ๆ ดังนี้ ผลงานวิจัยเรื่อง “โมเดลการฟื้นฟูป่า มิติสู่ความยั่งยืน” การแสดง Drone Swarm Software และการพูดคุยเกี่ยวกับผลงานวิจัยและนวัตกรรม อาทิ ผลงานวิจัยและนวัตกรรมด้านอุตสาหกรรม เช่น ผลิตภัณฑ์พอลเวร่า อโลเวร่า สลีปปิ้ง มาส์ก (สตาร์กลาส) งานวิจัยอาหาร (ส้มสีทอง) ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากส้มสีทอง จังหวัดน่าน และ ผลิตภัณฑ์เซรั่มเหง้าสับปะรด Herbita ผลงานวิจัยและนวัตกรรม
เพื่อยกระดับสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน เช่น ผึ้งชันโรง และพืชยืนต้นบำบัดฝุ่นละออง ผลงานวิจัยและนวัตกรรมด้านการแพทย์ เช่น เครื่องดึงวัคซีนอัตโนมัติ และแผ่นปิดกะโหลกศรีษะ ผลงานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจสร้างคุณค่าและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ เช่น กระถางรักษ์โลกปลดปล่อยปุ๋ย และเต้ารับสำหรับธุรกิจยานยนต์ไฟฟ้า ผลงานวิจัยและนวัตกรรมด้านสังคมสูงวัย เช่น รูปแบบที่อยู่อาศัยที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุไทยเพื่อส่งเสริมสุขภาพกาย สุขภาพใจ และการพัฒนานวัตกรรมที่ช่วยเหลือการดำรงชีวิตด้านการมองเห็นสำหรับผู้สูงอายุและผู้ที่สายตาเลือนราง ผลงานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อตอบโจทย์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID19) เช่น เครื่องทดสอบประสิทธิภาพการกรองฝุ่นสำหรับหน้ากากทางการแพทย์ การผลิตออกซิเจนความบริสุทธิ์สูง หมวกระบายอากาศ และการประยุกต์ใช้แสงซินโครตอนในงานวิจัยและพัฒนาหน้ากากผ้าเพื่อทดแทนหน้ากากทางการแพทย์ ผลงานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อใช้ประโยชน์เชิงการพัฒนาพื้นที่ เช่น เครื่องดื่มใบข้าวหอมมะลิ และผลิตภัณฑ์เสื้อผ้าและเครื่องแต่งกายจากผ้าทอด้วยใยรังไหมเหลือใช้ผสมใยฟางข้าว
ผลงานวิจัยและนวัตกรรมด้านสัตว์เศรษฐกิจ เช่น การพัฒนาแพลตฟอร์มปลาแห่งสยามเพื่อเป็นศูนย์กลางตลาดอิเล็กทรอนิกส์และแลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับปลาสวยงาม และผลงานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจเพื่ออนาคต เช่น ผงชงดื่มโภชนาการสมดุลโปรตีนสูงควบคุมน้ำหนัก ผงโปรตีนข้าวไฮโดรไลเสต และเครื่องดื่มเกลือแร่เสริมโปรตีนข้าวไฮโดรไลเสต ซึ่งผลงานวิจัยที่นำมาโชว์ในเวที “Research Expo Talk” ส่วนใหญ่เป็นผลงานที่ได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยจาก วช.
ตลอดการเปิดเวที “Research Expo Talk” โชว์ ในงานมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2564 ทั้ง 5 วันที่ผ่านมา พบว่า มีนักวิจัย อาจารย์ ครู นักเรียน นักศึกษา สื่อมวลชน และประชาชนให้ความสนใจเป็นจำนวนมาก ภายใต้มาตรการความปลอดภัยอย่างเข้มงวด จึงสร้างความมั่นใจ ให้ผู้ร่วมชมงานฯ อีกด้วย