นายกรัฐมนตรีชื่นชมรัฐบาลดิจิทัลไทยทะยานสู่อันดับ 22 จาก 64 ประเทศทั่วโลก พร้อมมอบ 4 แนวทางพัฒนารัฐบาล
ดิจิทัล บริหารจัดการองค์กรด้วยข้อมูล เสริมทักษะดิจิทัลกับบุคลากร เน้นการมีส่วนร่วมของประชาชน และขยายการ
เชื่อมโยงข้อมูลและบริการภาครัฐ
พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีให้เกียรติเป็นประธานมอบรางวัลรัฐบาลดิจิทัลประจำปี 2565 “Digital
Government Awards 2022” แก่หน่วยงานภาครัฐที่มีการปรับเปลี่ยนองค์กรสู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัลในระดับสูง จำนวนทั้งสิ้น
53 รางวัล พร้อมด้วย นายอนุชา นาคาศัย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีจัดขึ้นโดย สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล
(องค์การมหาชน) หรือ DGA เพื่อเป็นต้นแบบที่ดีให้กับหน่วยงานภาครัฐ ในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2565 ณ ตึกสันติไมตรี
ทำเนียบรัฐบาล
ในการนี้ นายกรัฐมนตรี ได้มอบนโยบายและทิศทางการขับเคลื่อนรัฐบาลดิจิทัล พร้อมแสดงความยินดีกับหน่วยงานที่
ได้รับรางวัลรัฐบาลดิจิทัลประจำปี 2565 ที่มีความมุ่งมั่นตั้งใจในการปรับเปลี่ยนหน่วยงานสู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัล จนส่งผลให้
อันดับดัชนีรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (e-Government Development Index) หรือ EGDI ประจำปี 2565 ของประเทศไทย
ขึ้นมา 2 อันดับ อยู่อันดับที่ 55 จากอันดับที่ 57 ในปี 2563 โดยประเทศไทยได้อันดับ 3 ของอาเซียน และผลการจัดอันดับดัชนีชี้วัดการมีส่วนร่วมทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Participation Index) หรือ EPI ประเทศไทยขึ้นมาอย่างก้าวกระโดดถึง 33 อันดับ มาอยู่อันดับที่ 18 จากอันดับที่ 51 ในปี 2563 โดยประเทศไทยได้อันดับ 2 ของอาเซียน และอีกหนึ่งดัชนี้ชี้วัดระดับสากล คือ
Waseda-IAC World Digital Government Ranking ซึ่งจัดอันดับจาก 64 ประเทศทั่วโลก โดยในปีนี้ ประเทศไทยมีอันดับดี
ขึ้นมา 3 อันดับ อยู่อันดับที่ 22 จากอันดับที่ 25 ปี 2021 พร้อมมอบเป็นนโยบายเพื่อย้ำเตือนให้ความสำคัญแก่หน่วยงาน
ภาครัฐ ซึ่งเป็นผลสะท้อนจากการทำสำรวจระดับความพร้อมรัฐบาลดิจิทัลของ DGA ในปีนี้ 4 ประการ คือ ประการแรก มุ่งเน้น
การบริหารจัดการและขับเคลื่อนองค์กรด้วยข้อมูลอย่างต่อเนื่อง ประการที่สอง เร่งส่งเสริมทักษะด้านดิจิทัลแก่เจ้าหน้าที่ภาครัฐ
ประการที่สาม ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของประชาชน และประการสุดท้าย ขยายการเชื่อมโยงข้อมูลและบริการผ่าน
แพลตฟอร์มกลาง
นอกจากนั้นนายกรัฐมนตรียังได้ขอบคุณคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล โดยมีท่านรองนายกดอน ปรมัตถ์วินัย
เป็นประธาน และท่านรัฐมนตรีอนุชา นาคาศัย เป็นที่ปรึกษา ที่ได้จัดทำร่างแผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทย พ.ศ.
2566 – 2570 ภายใต้วิสัยทัศน์“บริการภาครัฐสะดวก โปร่งใส ทันสมัย ตอบโจทย์ประชาชน” เพื่อมุ่งยกระดับการให้บริการที่ตอบสนองประชาชนและลดความเหลื่อมล้ำ เพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของภาคธุรกิจ สร้างความโปร่งใสที่เน้นการเปิดเผยข้อมูลแก่ประชาชนโดยไม่ต้องร้องขอ สนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชน และเป็นภาครัฐที่ปรับตัวทันการณ์ อันจะเป็นพื้นฐานสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมของประเทศต่อไป
นายอนุชา นาคาศัย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวรายงานถึงโครงการสำรวจระดับความพร้อมรัฐบาล
ดิจิทัลของหน่วยงานภาครัฐว่า DGA ได้ดำเนินโครงการฯ มาตั้งแต่ปี 2558 โดยมุ่งหวังว่าผลสำรวจจะสะท้อนให้เห็นสถานะ
ความพร้อมด้านการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล รวมถึงปัญหาอุปสรรค ความท้าทาย และปัจจัยแห่งความสำเร็จในการขับเคลื่อน
รัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทย สำหรับปี 2565 นี้ได้ทำการสำรวจหน่วยงานภาครัฐทั่วประเทศ ประกอบด้วย หน่วยงานภาครัฐระดับกรมหรือเทียบเท่า หน่วยงานภาครัฐระดับภูมิภาคทั้ง 76 จังหวัด (ไม่รวมกรุงเทพฯ) และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
รูปแบบพิเศษ (กรุงเทพมหานคร และ เมืองพัทยา) รวมทั้งสิ้น 1,935 หน่วยงาน มีหน่วยงานที่ตอบแบบสำรวจทั้งสิ้น 1,889
หน่วยงาน คิดเป็นร้อยละ 97.62 ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.26 จากปีที่ผ่านมา จะเห็นได้ว่า หน่วยงานยังคงมีความตื่นตัวและให้ความ
ร่วมมือในการตอบแบบสำรวจอย่างดียิ่ง จากผลการสำรวจ พบว่าหน่วยงานระดับกรมหรือเทียบเท่าที่ตอบแบบสำรวจจำนวน
310 หน่วยงาน ส่วนใหญ่มีระดับความพร้อมรัฐบาลดิจิทัลอยู่ในระดับสูงและปานกลาง โดยมีคะแนนความพร้อมด้านการบริหารจัดการรูปแบบดิจิทัลสูงที่สุด รองลงมาคือด้านโครงสร้างพื้นฐานความมั่นคงปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ เช่นเดียวกับหน่วยงานระดับจังหวัดที่ตอบแบบสำรวจทั้งหมด 1,577 หน่วยงาน ส่วนใหญ่มีระดับความพร้อมรัฐบาลดิจิทัลอยู่ในระดับสูงและปานกลางโดยมีคะแนนความพร้อมด้านนโยบายและหลักปฏิบัติสูงที่สุด รองลงมาคือด้านโครงสร้างพื้นฐานความมั่นคงปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ
ดร. สุพจน์ เธียรวุฒิ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล กล่าวเพิ่มเติมว่า ในครั้งที่ผ่านมานายกรัฐมนตรี ได้
ให้นโยบายในการพัฒนาภาครัฐไปสู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัลซึ่ง DGA มีการดำเนินการสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรมตามนโยบายแล้ว
ประกอบด้วย
1. ด้านกฎหมาย นโยบาย แผน และแพลตฟอร์มกลางภาครัฐ โดยที่หน่วยงานภาครัฐร่วมกันผลักดันพระราชบัญญัติการ
ปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2565 และ (ร่าง) แผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทย พ.ศ. 2566 – 2570 เพื่อกำหนดกรอบและทิศทางการบริหารงานภาครัฐและการจัดทำบริการสาธารณะในรูปแบบเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการพัฒนา
ประเทศ อีกทั้ง ได้พัฒนาพอร์ทัลกลางเพื่อให้บริการแก่ภาคประชาชน ภาคธุรกิจ และภาครัฐ ผ่านแอปพลิเคชัน "ทางรัฐ" ที่มี
บริการสะสมแล้วกว่า 80 บริการ ยอดดาวน์โหลดใช้งานแล้วกว่า 3 แสนครั้ง พอร์ทัลกลางสำหรับภาคธุรกิจ เป็นศูนย์กลาง
ข้อมูลให้ธุรกิจติดต่อราชการแบบเบ็ดเสร็จ ครบวงจร ณ จุดเดียว บนเว็บไซต์ biz.govchannel.go.th มีการให้บริการ 78 ใบอนุญาตใน 25 ประเภทธุรกิจ พอร์ทัลกลางด้านกฎหมายเพื่อเป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลทางด้านกฎหมายของประเทศ
รวมถึงเป็นช่องทางสําหรับรับฟังความคิดเห็นและประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการดําเนินการจัดทํากฎหมายหรือร่างกฎหมาย ปัจจุบันมีกฎหมายเข้าสู่ระบบเพื่อรับฟังความคิดเห็นและประเมินผลสัมฤทธิ์รวมทั้งหมดแล้วจำนวน 301 ฉบับ จาก 83 หน่วยงาน โดยมีผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์สะสมกว่า 240,000 ครั้ง ผู้เข้าร่วมแสดงความคิดเห็นบนระบบ Law Portal สะสมกว่า 72,000 ครั้งและเพื่ออำนวยความสะดวกภาครัฐในการปรับเปลี่ยนไปสู่การเป็นองค์กรดิจิทัล (Digital Transformation) ในระดับ
ท้องถิ่น DGA ได้ดำเดินการจัดทำระบบท้องถิ่นดิจิทัล ที่ช่วยส่งเสริมและสนับสนุนการทำงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
(อปท.) ในการบริหารงานและให้บริการประชาชนผ่านระบบดิจิทัล โดยเปิดให้บริการแล้ว 5 ระบบ คือ ระบบบริหารจัดการจุด
เดียวเบ็ดเสร็จ (OSS) ระบบขออนุญาตก่อสร้าง ระบบออกหนังสือรับรองการแจ้งฯ ระบบชำระค่าธรรมเนียมออนไลน์และ
ระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์
2. ศูนย์กลางข้อมูลเปิดภาครัฐและส่งเสริมการเปิดเผยและใช้ประโยชน์จากข้อมูล (Open Data) ผ่าน data.go.th ซึ่ง
ปัจจุบันมีชุดข้อมูลเปิดบนระบบแล้วกว่า 7,700 ชุดข้อมูล มีผู้ใช้บริการสะสม มากกว่า 2.7 ล้านคน และมีการใช้บริการเว็บไซต์
แล้วกว่า 10 ล้านครั้ง รวมถึงการพัฒนาระบบคลาวด์กลางภาครัฐ (Government Data Center and Cloud Service)
โดยเป็นการรวมศูนย์การให้บริการเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่ายเสมือนที่ได้มาตรฐานและมีความปลอดภัยสูงสำหรับหน่วยงานภาครัฐ เพื่อรองรับความต้องการในการเปลี่ยนผ่านเข้าสู่รัฐบาลดิจิทัล และการใช้งานการวิเคราะห์และใช้ประโยชน์ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) ซึ่งปัจจุบัน มีหน่วยงานภาครัฐใช้บริการ GDCC จำนวนกว่า 250 กรม 880 หน่วยงาน
3. การส่งเสริมทักษะดิจิทัลของข้าราชการและบุคลากรภาครัฐ เพื่อให้มีความพร้อมและสามารถขับเคลื่อนการพัฒนา
รัฐบาลดิจิทัลของหน่วยงานให้สอดคล้องกับแผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัล โดยสถาบันพัฒนาบุคลากรด้านดิจิทัลภาครัฐ (Thailand