เปิดเวทีสานเสวนาแก้ปัญหาน้ำท่วมเมืองชัยภูมิ ถอดบทเรียนทุกภาคส่วนระดมรับฟังความคิดเห็นชาวชัยภูมิ เร่งเสนอแนวทางแก้ปัญหาน้ำท่วม-น้ำแล้ง รับมือวิกฤตภัยธรรมชาติทั้งระบบ
การจัดเวทีนำร่องเป็นครั้งแรกในรอบหลายสิบปีที่ผ่านมา ในการแก้ปัญหาน้ำท่วมเมืองชัยภูมิ ที่ธรรมชาติได้ส่งสัญญาณเตือนภัยเกิดวิกฤตหนักในพื้นที่ต้นกำเนิดแม่น้ำในทั่วประเทศ โดยเฉพาะในจุดต้นกำเนิดแม่น้ำชี(ซี) ที่มีต้นกำเนิดอยู่ที่ จ.ชัยภูมิ และถือเป็นแหล่งต้นกำเนิดแม่น้ำชี เป็นสายต้นน้ำที่ยาวที่สุดในประเทศไทย ได้ใช้หล่อเลี้ยงประชาชนทั่วภาคตะวันออกเฉียงเหนือหรือภาคอีสาน มาช้านานมาจนปัจจุบัน
ซึ่งได้เกิดปัญหาน้ำท่วมหนักซ้ำรอยเกิดน้ำท่วมใหญ่หนักสุดในรอบกว่า 50 ปี ที่ผ่านมาติดต่อกันถึง 2 ปีซ้อนในปี 2564-2565 ที่ผ่านมา และมาถึงวันนี้หลายฝ่ายทั้งภาครัฐประชาชน ไปถึงรัฐบาลผู้บริหารประเทศสูงสุด คงจะนิ่งเฉยอีกต่อไปไม่ได้แล้ว จนล่าสุดทางด้านผู้นำในพื้นที่ จ.ชัยภูมิ ไม่ว่าจะเป็นนายโสภณ สุวรรณรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดชัยภูมิ(คนปัจจุบัน) นายกอบชัย บุญอรณะ อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดชัยภูมิ และในฐานะตัวแทนชมรมนิสิตเก่าจุฬาฯชัยภูมิ นายธีวรา วิตนากร นายกเทศมนตรีเมืองชัยภูมิ ตัวแทนจากทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งชลประทานจังหวัด ปภ.จังหวัด อบจ.ชัยภูมิ คณะกรรมการร่วมพัฒนา รพ. ชัยภูมิ สมาคมนักข่าวสื่อมวลชนจังหวัดชัยภูมิ และประชาชนผู้สนใจในการแก้ปัญหาน้ำท่วม ร่วมกับชมรมศิษย์เก่าจุฬาชัยภูมิ จึงได้ร่วมกันจัดงานสานเสวนา เสนอทางแก้ปัญหาน้ำท่วมชัยภูมิในครั้งนี้ขึ้นที่ห้องพญาแล ของโรงพยาบาลชัยภูมิ หลายฝ่ายมองว่าปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่จังหวัดชัยภูมิ ที่พบว่าในทุกๆปีเริ่มทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากล่าสุดในปี พ.ศ.2564 และ 2565 กลายเป็นความต่อเนื่องกับปัญหานี้สร้างความเสียหายหนักสุดในรอบกว่า 50 ปีที่ผ่านมาอย่างไม่เคยมีมาก่อน ประเมินค่าความเสียหายเกือบ 50,000 ล้านบาท
นอกจากภาพรวมที่เห็นว่ามีการเกิดน้ำท่วมเป็นบริเวณกว้าง ก็ยังมีในบางพื้นที่เช่นกันที่ต้องเจอกับปัญหาน้ำท่วม ที่เรียกได้ว่าท่วมซ้ำซากทุกปี ที่จากปีนี้ไปชาวชัยภูมิทุกภาคส่วนจะทำได้เพียงแค่ รอ รับน้ำหลากเข้าท่วมมาและรอสูบระบายออกจากพื้นที่เท่านั้นต่อไปไม่ได้อีกแล้ว หรือให้มันผ่านไปในแต่ละปีเท่านั้น สิ่งที่เกิดขึ้นจะมีปลายทางเป็นเช่นไร ยังเป็นเรื่องที่ยากจะมีคำตอบได้
และที่สำคัญจากนี้ไป จังหวัดชัยภูมิจะมีแผนงานแนวทางมาตรการอย่างไร ที่จะสามารถป้องกันน้ำท่วม รวมทั้งน้ำแล้ง ที่จะมาควบคู่กันซ้ำซากทุกปีได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืนได้ โดย นายโสภณ สุวรรณรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดชัยภูมิ หัวเรือใหญ่ในการจัดเปิดเวทีสานเสวนาในครั้งนี้ ต้องรีบขึ้นมานั่งหัวโต๊ะนั่งเป็นประธานรับฟังระดมความคิด หลังจากที่เข้ามารับตำแหน่งด้วยการขึ้นเรือฝ่าน้ำท่วมใหญ่ในช่วงเดือน ต.ค.65 นี้ที่ผ่านมา ได้เดือนเศษ เพื่อเข้ามารับตำแหน่งพ่อเมือง หรือผู้ว่าราชการจังหวัดชัยภูมิในเวลานั้นพอดี กล่าวเปิดและรับฟังปัญหาจากทุกภาคส่วนที่พากันถกเข้มแทบไม่พากันใช้เวลาพักเที่ยงรับประทานอาหารกลางวันตั้งช่วงชาวยันบ่ายของวานนี้ที่ผ่านมา เพื่อเสนอแนวทางการจัดการบริการแหล่งต้นกำเนิดแม่น้ำชี ที่ จ.ชัยภูมิ เป็นแหล่งต้นกำเนิด ได้มีข้อเสนอ มาตรการป้องกันแก้ไขปัญหาน้ำท่วมชัยภูมิ การจัดการภาวะน้ำท่วมที่ผ่านมา ปัญหาอุปสรรค และแผนงานแนวทางที่จะทำในปัจจุบันจากนี้ต่อไป ในเวทีถอดบทเรียนในครั้งแรกครั้งนี้ เพื่อเตรียมสรุปนำเสนอต่อหน่วยงานทุกภาคส่วน รวมไปถึงนอกเหนืออำนาจของจังหวัดที่จะเสนอผ่านไปถึงคณะรัฐมนตรี และรัฐบาลต่อไปให้ได้ในอีกเกินเกินช่วงกลางปีหน้า พ.ศ.2566 นี้ให้ได้โดยเร็วต่อไป
ที่จากนี้ไป บทเรียนภัยธรรมชาติได้ส่งสัญญาณวิกฤตหนักทวีความรุนแรงเพิ่มหนักขึ้นทุกปี ที่ชาวชัยภูมิ และชาวไทยทั่วประเทศ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องของปัญหาต้นน้ำที่จะต้องมีความชัดเจนในการจัดการบริหารต้นน้ำทุกลุ่มน้ำได้เกิดความตระหนักช่วยกันมากขึ้นไม่ว่าจะเป็น สาย ปิง วัง ยม น่าน และ โขง ชี มูล ซึ่งในส่วนของต้นแม่น้ำชีวันนี้ ที่มีต้นกำเนิด ที่ จ.ชัยภูมิ เป็นอีกแหล่งต้นน้ำสำคัญใช้หล่อเลี้ยงชาวบ้านทั่วภาคอีสานมายาวนาน ทั้งปัญหาที่พบตลอดสายน้ำชีที่ยาวที่สุดของภาคอีสาน ยาวเกือบ 600กิโลเมตร(กม.) ที่จะไหลไปบรรจบกัน โขง ชี มูล ที่ จ.อุบลราชธานี การเกิดปัญหาตื้นเขินของสายน้ำที่ในอดีตจากเดิมมีความลึกจุดเตือนภัยอยู่ที่ 15 เมตร แต่ปัจจุบันเพียง 9 เมตร ลำแม่น้ำชีก็จะทะลักล้นตลิ่งหลากเข้าท่วมพื้นที่ใกล้เคียงทั้งหมดอย่างรวดเร็ว นี่ก็เป็นอีกจุดที่สะท้อนในเวทีถอดบทเรียนการแก้ปัญหาต้นแม่น้ำชีทั้งระบบ ที่จะต้องมีการขุดคอกฟื้นฟูสายน้ำตลิ่งที่พังทรุดตัวคับแคบเกิดการเก็บกักน้ำได้ลดน้อยลงมาต่อเนื่องมานานกว่า 50 ปี ที่หน่วยงานรับผิดชอบโดยตรงคือกรมเจ้าท่า ควรต้องเร่งลงมาช่วยฟื้นฟูสายน้ำแก้ปัญหาในจุดนี้ทั้งระบบรวมไปถึงรัฐบาลโดยต้องที่จะต้องแก้ปัญหาในจุดนี้ในลักษณะปัญหาที่คล้ายอีกทั่วทุกลุ่มต้นน้ำทั่วประเทศ
และจากภาพรวมที่พอจะเห็นได้ว่าในช่วงหน้าน้ำ หรือหน้าฝนทุกปี ปริมาณน้ำฝนที่ตกลงมาสะสมในแต่ละปี มีปริมาณน้ำมากขึ้นหรือเกินโอเวอร์โหลดต่อเนื่องในแต่ละปี จากสภาพเขื่อนแหล่งเก็บกักน้ำขนาดใหญ่ กลาง ที่มีในพื้นที่ จ.ชัยภูมิ ในปัจจุบันรวม 13 แหล่ง สามารถรับน้ำได้ประมาณรวม 339 ล้าน .ลบ.ม. และในระยะเวลาที่มีการเตรียมแหล่งรองรับน้ำเขื่อน และอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่จะมีเพิ่มขึ้นในขณะนี้ ทั้งเขื่อนโปร่งขุนเพชร ยางนาดี ชีบน ที่ก็ยังต้องรอเวลาการเร่งก่อสร้างให้แล้วเสร็จก็ต้องรออีกอย่องน้อย 3-5 ปี ที่หากสร้างเสร็จก็จะสามารถรองรับน้ำหลากเพิ่มขึ้นได้อีกประมาณ 325 ล้าน ลบ.ม.และหากเทียบปริมาณน้ำฝนแล้วในช่วงเกิดน้ำท่วมใหญ่หนักสุดรอบกว่า 50 ปี ซ้ำติดต่อกันในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ของปี 2564-2565 นี้ มีปริมาณน้ำฝนสะสมสูงกว่า 1,800 ล้าน ลบ.ม.และหากรวมความจุที่มีทั้งหมดในลำแม่น้ำชีก็สามารถรับได้ไม่เกิน 1,150 ล้าน ลบ.ม. ซึ่งหากเทียบปริมาณน้ำที่ยังเหลือมหาศาลที่ยังไม่ที่กักเก็บเพียงพอได้อีกไม่น้อยกว่า 500 ล้าน ลบ.ม.เทียบน้ำจำนวน 100 ล้าน ลบ.ม.ที่หากหลากเข้าน้ำพื้นที่จะได้รับความเสียหายเป็นวงกว้างสูงกว่า 100,000 ไร่ ที่จะสร้างความเสียหายให้กับพื้นที่ จ.ชัยภูมิ ไม่น้อยกว่า 500,000 ไร่ ในทุกปี รวมทั้งพื้นที่อีกด้านในช่วงหน้าแล้งก็ไม่มีน้ำเหลือก็จะมียอดความเสียหายการเกษตรหน้าแล้งควบคู่กันอีกไม่น้อยกว่า 500,000 ไร่ ของทุกปี
เพราะตลอดการเกิดปัญหาน้ำท่วมทุกปี การแก้ปัญหาที่ทำได้คืนสูบระบายน้ำที่หลากลงสู่ลำชีไม่ให้ท่วมในจังหวัดผ่านไปยังจังหวัดต่างๆทั่วภาคอีสาน ผ่านไปหมด พอเกิดน้ำท่วมเร่งสูบระบายน้ำออกไปหมด พอหมดหน้าฝน ก็แล้งตามมาอย่างรวดเร็ว นี่เป็นอีกจุดที่การแก้ปัญหาทั้งน้ำท่วมน้ำแล้งต้องทำควบคู่กันตลอดทั้งหมด ไม่ใช่แค่มารอตั้งรับแต่ช่วงหน้าฝนเท่านั้น ที่ตัวแทนภาคประชาชนในพื้นที่ อยากสะท้อนออกมาถึงการถอดบทเรียนในครั้งนี้ คงปล่อยรอตั้งรับด้านเดียวอีกต่อไปไม่ได้แล้ว
ทั้งหมดโครงสร้างในระยะยาวที่จะมีการทำบายพาสน้ำไม่ให้ท่วมเมืองหลักๆ ทั้งโครงการเขื่อนขนาดใหญ่ ที่เป็นระยะยาวต้องรออีกจากนี้ไปถึง 3-5 ปี จากนี้ไป แล้วปีหน้า 2566 นี้ จะทำอย่างไร แนวทางที่ควรมีการนำเสนอเร่งด่วนคือแผนระยะสั้นเร่งด่วน คือการเพิ่มแหล่งเก็บน้ำที่มีในพื้นที่ทั้งหมด กว่า 1,600 หมู่บ้าน กว่า 124 ตำบล ใน 16 อำเภอ ของจังหวัดชัยภูมิ การดำเนินการมีคณะกรรมการน้ำจังหวัดชัยภูมิ การที่จะให้เกิดการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนทุกพื้นที่ที่จะต้องมีทะเบียนน้ำของแต่ละชุมชนตนเอง ในการเกิดน้ำท่วมมีพื้นที่เท่า ในการเกิดปัญหาน้ำแล้งที่ต้องมีควบคู่กัน เพื่อที่จะนำไปสู่การเกิดการเพิ่มแหล่งเก็บกักน้ำในแต่ละชุมชนที่สามารถทำได้จากนี้ไปไม่ต้องรอ เพื่อช่วยกันลดปริมาณน้ำที่เกินโอเวอร์อีกว่า 500 ล้าน ลบ.ม.ให้เกิดผลกระทบทั้งท่วม-แล้ง ในพื้นที่ให้น้อยที่สุดก่อนผลักดันลงผ่านไปลำชีได้ลดความรุนแรงการไหลของสายน้ำลดความเสียหายในวงกว้างได้มากขึ้น
ระหว่างที่รอแผนในระยะยาวการฟื้นฟูขุดลอกสายน้ำตลอดทั้งสายที่มีความลึกกลับมาสร้างความสมดุลคืนต้นกำเนิดตามเดิมในลำแม่น้ำชี ที่จะสามารถเก็บน้ำไว้ใช้ยามหน้าแล้งได้ลึกลงเก็บน้ำที่ไหลผ่านไว้ใช้ด้านการเกษตร ผลิตประชาชนแต่ละหมู่บ้านที่ใช้น้ำจากแม่น้ำชีไหลผ่าน และลดปัญหาการเกิดน้ำหลากล้นตลิ่งอย่างรวดเร็วทะลักเข้าท่วมที่ยังเป็นปัญหาอยู่ในขณะนี้ในระยะยาวที่ภาครัฐบาลจะต้องเร่งแก้ปัญหาฟื้นฟูสายน้ำทั่วประเทศให้กลับมาสร้างความสมดุลย์ทางธรรมชาติในทั่วประเทศกลับคืนมาให้ได้โดยเร็วต่อไป//สุทธิพงศ์ จ.ชัยภูมิ Thailand report online