วช. หนุนงานวิจัย วว. และ มรภ. พัฒนาพื้นที่เมืองคอน ยกระดับการท่องเที่ยว ภูมิปัญญาอาหารพื้นถิ่น
วันที่ 21 ธ.ค. 65 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ลงพื้นที่เยี่ยมชมโครงการวิจัย “การยกระดับมาตรฐานสถานท่องเที่ยวและมาตรฐานผลิตภัณฑ์จากภูมิปัญญาไทยในภูมิภาคที่เชื่อมโยงและบูรณาการ มรภ.” ของ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) และ โครงการวิจัย “การยกระดับศักยภาพการท่องเที่ยวชุมชนเชิงสร้างสรรค์บนฐานภูมิปัญญาอาหารพื้นถิ่นเส้นทางท่องเที่ยวอ่าวไทย อันดามัน และพหุวัฒนธรรมชายแดนใต้” ของ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูมิภาคภาคใต้
โดย ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ นำ ดร.มารยาท สมุทรสาคร และ รองศาสตราจารย์ ดร.ยงยุทธ แฉล้มวงษ์ นางสาวจันทนา เบญจทรัพย์ นายประครอง สายจันทร์ ผู้ทรงคุณวุฒิ วช. นายธีรวัฒน์ บุญสม ผู้อำนวยการกองประเมินผลและจัดการความรู้การวิจัย ปฏิบัติหน้าที่ ผู้อำนวยการกองส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยและนวัตกรรม พร้อมด้วยสื่อมวลชน ลงพื้นที่ติดตามผลการดำเนินงานฯ โดยมี ศาสตราจารย์ (วิจัย) ดร.ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต ผู้ว่าการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กล่าวรายงานความร่วมมือฯ ดร.สมปอง รักษาธรรม รักษาราชการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
นางพิชญ์สินี ทัศน์นิยม ผู้อำนวยการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานนครศรีธรรมราช นายวิชา คันธิก ประธานสภาตำบลปากพูน และนางจิรายุณัฐ อัจฉริยะขจร ผู้ประกอบการวันมอร์ไทยคราฟท์ กล่าวต้อนรับ ณ วันมอร์ไทยคราฟท์ ช็อกโกแลต ศูนย์เรียนรู้การแปรรูปโกโก้นครศรีธรรมราช ตำบลปากพูน อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ช็อกโกแลต
ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า การลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมติดตามงานบูรณาการงานวิจัยระหว่างมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช (มรภ.นศ.) และ วว. เป็นโครงการความร่วมมือที่จะร่วมกันส่งเสริมและยกระดับศักยภาพการท่องเที่ยวชุมชนเชิงสร้างสรรค์บนฐานภูมิปัญญาอาหารพื้นถิ่นเพื่อเพิ่มมูลค่าทางการท่องเที่ยวโดยชุมชน ดำเนินการโดย มรภ.นศ. เพื่อยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ให้กับผู้ประกอบการประเภทอาหาร ในจังหวัดนครศรีธรรมราช และเพื่อให้เป็นที่ยอมรับในประเภทต่าง ๆ โดยมีความร่วมมือจาก วว. ในการทดสอบ พัฒนา และรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์ อันจะนำไปสู่ การพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ที่อยู่บนพื้นฐานของการสร้าง และการใช้องค์ความรู้ ความคิด สร้างสรรค์เชื่อมโยงกับทุนทางปัญญา ทุนทางวัฒนธรรม สำหรับโครงการวิจัยดังกล่าว วช. ได้สนับสนุนทุนวิจัย ประจำปีงบประมาณ 2564 ให้กับ เครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏ และ วว. ซึ่งการลงพื้นที่ในครั้งนี้ เป็นการเยี่ยมชมผลสำเร็จของโครงการวิจัย และรับฟังปัญหาอุปสรรค
ศาสตราจารย์ (วิจัย) ดร.ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต ผู้ว่าการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กล่าวว่า โครงการวิจัย “การยกระดับศักยภาพการท่องเที่ยวชุมชนเชิงสร้างสรรค์บนฐานภูมิปัญญาอาหารพื้นถิ่นเส้นทางท่องเที่ยวอ่าวไทย อันดามัน และพหุวัฒนธรรมชายแดนใต้” โดย มหาวิทยาลัยราชภัฏภูมิภาคภาคใต้ มี ดร.วิเชียร มันแหล่ เป็นหัวหน้าโครงการวิจัยฯ และมีคณะมหาวิทยาลัยราชภัฏภูมิภาคภาคใต้ ได้แก่มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา และมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต และโครงการวิจัย “ยกระดับมาตรฐานสถานท่องเที่ยวและมาตรฐานผลิตภัณฑ์จากภูมิปัญญาไทยในภูมิภาคที่เชื่อมโยงและบูรณาการ มรภ.” โดย วว. โดยมี นางปริยะดา วิสุทธิแพทย์ นักวิจัย วว. ซึ่งเป็นหัวหน้าโครงการฯ ในส่วนของการยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ให้กับผู้ประกอบการประเภทอาหารในจังหวัดนครศรีธรรมราช วว. ได้ดำเนินการยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน อย. ด้วย การลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมติดตามงานบูรณาการงานวิจัยระหว่าง มรภ.นศ.และ วว. ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาผลิตภัณฑ์เด่นของผู้ประกอบการจังหวัดนครศรีธรรมราช อันจะเป็นการสร้างความเข้มแข็ง ความแข็งแกร่ง ดังนโยบายรัฐบาล
ดร.สมปอง รักษาธรรม รักษาราชการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
กล่าวว่า โครงการวิจัย “การยกระดับศักยภาพการท่องเที่ยวชุมชนเชิงสร้างสรรค์บนฐานภูมิปัญญาอาหารพื้นถิ่นเส้นทางท่องเที่ยวอ่าวไทย อันดามัน และพหุวัฒนธรรมชายแดนใต้” ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ของดร.วิเชียร มันแหล่ เป็นหัวหน้าโครงการวิจัย ซึ่งเป็นโครงการความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยราชภัฏ 38 แห่งทั่วประเทศ จังหวัดนครศรีธรรมราชก็เป็นหนึ่งในพื้นที่ดำเนินการวิจัยของโครงการดังกล่าวในพื้นที่อำเภอลานสกา ภายใต้การอำนวยการและบริหารงานของมหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคใต้ 9 แห่ง โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นรา พงษ์พานิช ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีเป็นประธาน
ทั้งนี้ โครงการวิจัยดังกล่าวได้ดำเนินการเข้าสู่ปีที่ 2 นอกจากนี้ ยังมีอีกหลายโครงการวิจัยที่ วช. ได้ให้การสนับสนุนต่อ วว.
กิจกรรมการตรวจเยี่ยมติดตามงานบูรณาการงานวิจัยในครั้งนี้ วว. ได้นำเสนอผลการบูรณาการงานวิจัยร่วมกับ มรภ.นศ. ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกประเภทอาหารในด้านโรงเรือน ขั้นตอนการผลิต จนได้รับมาตรฐาน อย. จำนวน 3 ผลิตภัณฑ์ ได้แก่ ทุเรียนกวนห่อกาบหมาก จำปาดะกวน และลูกหยีสามรส และรวมถึงผลการพัฒนาผลิตภัณฑ์ช็อกโกแลต ของ คณะนักวิจัยของ มรภ.นศ. ด้วย
สำหรับการลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมฯ ได้ลงพื้นที่ไปตรวจเยี่ยม ดังนี้ 1. การเยี่ยมชมการดำเนินงานบูรณาการ มรถ.นศ. และ วว. 2. การเยี่ยมชมการดำเนินงานการยกระดับมาตรฐานการผลิตและผลิตภัณฑ์โกโก้ไทย โดย ดร.วิเชียร มันแหล่ ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน มรภ.นศ. และนางปริยะดา วิสุทธิแพย์ ผู้อำนวยการสำนักสื่อสารองค์กร วว. เป็นหัวหน้าโครงการฯ ณ วันมอร์ไทยคราฟท์ ช็อกโกแลต ศูนย์เรียนรู้การแปรรูปโกโก้นครศรีธรรมราช 3. การเยี่ยมชมและติดตามงานยกระดับมาตรฐานท่องเที่ยวชุมชน (CBT) มาตรฐานความปลอดภัยและสุขอนามัยรองรับการท่องเที่ยว และผลิตภัณฑ์เพื่อการท่องเที่ยว โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พงษ์ศักดิ์ นพรัตน์ รองประธานโหนดภูมิภาคใต้ และรองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา มรภ.นศ. ณ วิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวลูกไม้คีรีวง และ 4. การตรวจเยี่ยมติดตามงาน การยกระดับมาตรฐานการผลิตของกลุ่มผลไม้แปรรูปคีรีวง (จำปาดะกวน ทุเรียนกวนห่อกาบหมาก และลูกหยีสามรส) โดย ดร.วิเชียร มันแหล่ หัวหน้าโครงการ มรภ. และ นางปริยะดา วิสุทธิแพทย์ หัวหน้าโครงการ วว. ณ กลุ่มผลไม้แปรรูปผลไม้คีรีวง จังหวัดนครศรีธรรมราช
วันที่ 21 ธ.ค. 65 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ลงพื้นที่เยี่ยมชมโครงการวิจัย “การยกระดับมาตรฐานสถานท่องเที่ยวและมาตรฐานผลิตภัณฑ์จากภูมิปัญญาไทยในภูมิภาคที่เชื่อมโยงและบูรณาการ มรภ.” ของ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
แห่งประเทศไทย (วว.) และ โครงการวิจัย “การยกระดับศักยภาพการท่องเที่ยวชุมชนเชิงสร้างสรรค์บนฐานภูมิปัญญาอาหารพื้นถิ่นเส้นทางท่องเที่ยวอ่าวไทย อันดามัน และพหุวัฒนธรรมชายแดนใต้” ของ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูมิภาคภาคใต้ โดย ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ นำ ดร.มารยาท สมุทรสาคร และ รองศาสตราจารย์ ดร.ยงยุทธ แฉล้มวงษ์ นางสาวจันทนา เบญจทรัพย์ นายประครอง สายจันทร์ ผู้ทรงคุณวุฒิ วช. นายธีรวัฒน์ บุญสม ผู้อำนวยการกองประเมินผลและจัดการความรู้การวิจัย ปฏิบัติหน้าที่ ผู้อำนวยการกองส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยและนวัตกรรม พร้อมด้วยสื่อมวลชน ลงพื้นที่ติดตามผลการดำเนินงานฯ โดยมี ศาสตราจารย์ (วิจัย) ดร.ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต ผู้ว่าการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กล่าวรายงานความร่วมมือฯ ดร.สมปอง รักษาธรรม รักษาราชการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
นางพิชญ์สินี ทัศน์นิยม ผู้อำนวยการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานนครศรีธรรมราช นายวิชา คันธิก ประธานสภาตำบลปากพูน และนางจิรายุณัฐ อัจฉริยะขจร ผู้ประกอบการวันมอร์ไทยคราฟท์ กล่าวต้อนรับ ณ วันมอร์ไทยคราฟท์ ช็อกโกแลต ศูนย์เรียนรู้การแปรรูปโกโก้นครศรีธรรมราช ตำบลปากพูน อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ช็อกโกแลต
ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า การลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมติดตามงานบูรณาการงานวิจัยระหว่างมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช (มรภ.นศ.) และ วว. เป็นโครงการความร่วมมือที่จะร่วมกันส่งเสริมและยกระดับศักยภาพการท่องเที่ยวชุมชนเชิงสร้างสรรค์บนฐานภูมิปัญญาอาหารพื้นถิ่นเพื่อเพิ่มมูลค่าทางการท่องเที่ยวโดยชุมชน ดำเนินการโดย มรภ.นศ. เพื่อยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ให้กับผู้ประกอบการประเภทอาหาร ในจังหวัดนครศรีธรรมราช และเพื่อให้เป็นที่ยอมรับในประเภทต่าง ๆ โดยมีความร่วมมือจาก วว. ในการทดสอบ พัฒนา และรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์ อันจะนำไปสู่ การพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ที่อยู่บนพื้นฐานของการสร้าง และการใช้องค์ความรู้ ความคิด สร้างสรรค์เชื่อมโยงกับทุนทางปัญญา ทุนทางวัฒนธรรม สำหรับโครงการวิจัยดังกล่าว วช. ได้สนับสนุนทุนวิจัย ประจำปีงบประมาณ 2564 ให้กับ เครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏ และ วว. ซึ่งการลงพื้นที่ในครั้งนี้ เป็นการเยี่ยมชมผลสำเร็จของโครงการวิจัย และรับฟังปัญหาอุปสรรค
ศาสตราจารย์ (วิจัย) ดร.ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต ผู้ว่าการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กล่าวว่า โครงการวิจัย “การยกระดับศักยภาพการท่องเที่ยวชุมชนเชิงสร้างสรรค์บนฐานภูมิปัญญาอาหารพื้นถิ่นเส้นทางท่องเที่ยวอ่าวไทย อันดามัน และพหุวัฒนธรรมชายแดนใต้” โดย มหาวิทยาลัยราชภัฏภูมิภาคภาคใต้ มี ดร.วิเชียร มันแหล่ เป็นหัวหน้าโครงการวิจัยฯ และมีคณะมหาวิทยาลัยราชภัฏภูมิภาคภาคใต้ ได้แก่มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา และมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต และโครงการวิจัย “ยกระดับมาตรฐานสถานท่องเที่ยวและมาตรฐานผลิตภัณฑ์จากภูมิปัญญาไทยในภูมิภาคที่เชื่อมโยงและบูรณาการ มรภ.” โดย วว. โดยมี นางปริยะดา วิสุทธิแพทย์ นักวิจัย วว. ซึ่งเป็นหัวหน้าโครงการฯ ในส่วนของการยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ให้กับผู้ประกอบการประเภทอาหารในจังหวัดนครศรีธรรมราช วว. ได้ดำเนินการยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน อย. ด้วย การลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมติดตามงานบูรณาการงานวิจัยระหว่าง มรภ.นศ.และ วว. ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาผลิตภัณฑ์เด่นของผู้ประกอบการจังหวัดนครศรีธรรมราช อันจะเป็นการสร้างความเข้มแข็ง ความแข็งแกร่ง ดังนโยบายรัฐบาล
ดร.สมปอง รักษาธรรม รักษาราชการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
กล่าวว่า โครงการวิจัย “การยกระดับศักยภาพการท่องเที่ยวชุมชนเชิงสร้างสรรค์บนฐานภูมิปัญญาอาหารพื้นถิ่นเส้นทางท่องเที่ยวอ่าวไทย อันดามัน และพหุวัฒนธรรมชายแดนใต้” ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ของดร.วิเชียร มันแหล่ เป็นหัวหน้าโครงการวิจัย ซึ่งเป็นโครงการความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยราชภัฏ 38 แห่งทั่วประเทศ จังหวัดนครศรีธรรมราชก็เป็นหนึ่งในพื้นที่ดำเนินการวิจัยของโครงการดังกล่าวในพื้นที่อำเภอลานสกา ภายใต้การอำนวยการและบริหารงานของมหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคใต้ 9 แห่ง โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นรา พงษ์พานิช ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีเป็นประธาน
ทั้งนี้ โครงการวิจัยดังกล่าวได้ดำเนินการเข้าสู่ปีที่ 2 นอกจากนี้ ยังมีอีกหลายโครงการวิจัยที่ วช. ได้ให้การสนับสนุนต่อ วว.
กิจกรรมการตรวจเยี่ยมติดตามงานบูรณาการงานวิจัยในครั้งนี้ วว. ได้นำเสนอผลการบูรณาการงานวิจัยร่วมกับ มรภ.นศ. ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกประเภทอาหารในด้านโรงเรือน ขั้นตอนการผลิต จนได้รับมาตรฐาน อย. จำนวน 3 ผลิตภัณฑ์ ได้แก่ ทุเรียนกวนห่อกาบหมาก จำปาดะกวน และลูกหยีสามรส และรวมถึงผลการพัฒนาผลิตภัณฑ์ช็อกโกแลต ของ คณะนักวิจัยของ มรภ.นศ. ด้วย
สำหรับการลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมฯ ได้ลงพื้นที่ไปตรวจเยี่ยม ดังนี้ 1. การเยี่ยมชมการดำเนินงานบูรณาการ มรถ.นศ. และ วว. 2. การเยี่ยมชมการดำเนินงานการยกระดับมาตรฐานการผลิตและผลิตภัณฑ์โกโก้ไทย โดย ดร.วิเชียร มันแหล่ ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน มรภ.นศ. และนางปริยะดา วิสุทธิแพย์ ผู้อำนวยการสำนักสื่อสารองค์กร วว. เป็นหัวหน้าโครงการฯ ณ วันมอร์ไทยคราฟท์ ช็อกโกแลต ศูนย์เรียนรู้การแปรรูปโกโก้นครศรีธรรมราช 3. การเยี่ยมชมและติดตามงานยกระดับมาตรฐานท่องเที่ยวชุมชน (CBT) มาตรฐานความปลอดภัยและสุขอนามัยรองรับการท่องเที่ยว และผลิตภัณฑ์เพื่อการท่องเที่ยว โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พงษ์ศักดิ์ นพรัตน์ รองประธานโหนดภูมิภาคใต้ และรองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา มรภ.นศ. ณ วิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวลูกไม้คีรีวง และ 4. การตรวจเยี่ยมติดตามงาน การยกระดับมาตรฐานการผลิตของกลุ่มผลไม้แปรรูปคีรีวง (จำปาดะกวน ทุเรียนกวนห่อกาบหมาก และลูกหยีสามรส) โดย ดร.วิเชียร มันแหล่ หัวหน้าโครงการ มรภ. และ นางปริยะดา วิสุทธิแพทย์ หัวหน้าโครงการ วว. ณ กลุ่มผลไม้แปรรูปผลไม้คีรีวง จังหวัดนครศรีธรรมราช