พล.ต.อ.สุรเชษฐ์เปิดเวทีรับฟังพี่น้องประมง หารือการออกใบอนุญาตประมงพื้นบ้าน
ในช่วงปีที่ผ่านมา ประเทศไทยประสบปัญหาเกี่ยวกับการทำประมงผิดกฎหมาย และการลดลงของทรัพยากร
สัตว์น้ำ ทำให้ผลิตผลจากการทำประมงมีปริมาณลดลง และส่งผลต่อการส่งออกอาหารทะเลเป็นอันมาก ต่อมาได้มีการพัฒนาการทำประมงให้ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติมายิ่งขึ้น โดยมีการบังคับใช้กฎหมายเพื่อแก้ปัญหาการบังคับใช้แรงงานในการทำประมง รวมทั้งการดูแลสภาพการทำงานของลูกเรือ ความปลอดภัยและการจ่ายค่าแรงที่เป็นไปตามกฎหมาย การใช้อุปกรณ์ทำประมงที่ถูกต้อง และการปราบปรามการทำประมงผิดกฎหมาย (IUU Fishing)
ทำให้ประเทศไทยสามารถคงสถานะใบเขียวจากสหภาพยุโรปในด้านการประมงไว้ได้นอกจากนี้ ยังมีเป้าหมายเพื่อ
ช่วยเหลือพี่น้องชาวประมงไทยให้สามารถทำประมงได้อย่างยั่งยืน และรักษาความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรสัตว์น้ำ
ไว้ให้คงอยู่ต่อไป จึงได้จัดให้มีการออกใบอนุญาตทำการประมงพื้นบ้านขึ้น เพื่อดูแลการทำประมงพื้นบ้านให้ดียิ่งขึ้น
กรณีดังกล่าว พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี/ประธานกรรมการนโยบายการประมงแห่งชาติ
ได้สั่งการให้ พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ หักพาล รอง ผบ.ตร. /กรรมการนโยบายประมงแห่งชาติ ให้มีการจัดการประชุมร่วมกับ
ผู้แทนชาวประมงพื้นบ้าน เพื่อรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับการมีใบอนุญาตทำการประมงพื้นบ้าน เพื่อให้การดำเนินการ
ดังกล่าวสามารถบังคับใช้ได้จริงอย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดประโยชน์สูงสุดทั้งกับประเทศชาติ และพี่น้องชาวประมง
ไทยให้มากที่สุด
เมื่อวันที่ 19 ก.พ.66 เวลา 10.00 น. พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ หักพาล รอง ผบ.ตร. ร่วมกับกรมประมง ได้จัดการ
ประชุมรับฟังความคิดเห็น ร่วมกับผู้แทนชาวประมงพื้นบ้าน ณ ห้องประชุมอานนท์ กรมประมง โดยมีผู้แทน
ชาวประมงพื้นบ้านจาก 56 องค์กร จำนวนมากกว่า 200 คน มาร่วมกันหารือเกี่ยวกับการออกใบอนุญาตทำการ
ประมงพื้นบ้าน ซึ่งปัจจุบัน ประเทศไทยมีเรือประมงพื้นบ้านมากถึง 49,000 ลำ กระจายตัวอยู่ตลอดแนวชายฝั่งทะเล
ของ 22 จังหวัดทั่วประเทศ ดังนั้นการพบปะหารือร่วมกันในวันนี้ จึงมีความสำคัญต่อการกำหนดแนวทางการปฏิบัติ
ของการทำประมงพื้นบ้านที่จะบังคับใช้ต่อไป
การออกใบอนุญาตทำประมงพื้นบ้านนั้น มีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดแนวทางร่วมกันระหว่างรัฐและชาวประมง
พื้นบ้าน ในการบริหารจัดการทรัพยากรสัตว์น้ำของแต่ละพื้นที่ แต่ละฤดูกาล รวมทั้งอุปกรณ์การจับสัตว์น้ำที่ไม่ทำลาย
ธรรมชาติและสัตว์น้ำขนาดเล็ก เพื่อรักษาความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติให้มีความยั่งยืน อีกทั้งยังเสมือน
เป็นการลงทะเบียนให้กับพี่น้องชาวประมงพื้นบ้าน เพื่อเปิดโอกาสให้ภาครัฐสามารถเข้าช่วยเหลือ สนับสนุนการทำ
ประมงพื้นบ้าน ให้เป็นไปได้อย่างยั่งยืนและสืบทอดสู่รุ่นลูกหลานได้ต่อไป ทั้งนี้การดำเนินการดังกล่าวจะอยู่บนพื้นฐาน
การดำเนินการตามที่ พ.ร.ก.ประมง กำหนด โดยหลังจากประชุมรับฟังความคิดเห็นแล้ว จะได้มีการนำผลการหารือ
เข้าสู่ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายประมงแห่งชาติพิจารณาดำเนินการต่อไป
พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ กล่าวว่า พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกฯ ได้มอบหมายให้มีการประชุมรับฟังความ
คิดเห็นร่วมกับพี่น้องชาวประมงพื้นบ้าน เนื่องจากการออกใบอนุญาตทำประมงพื้นบ้านนั้นเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตของพี่
น้องชาวประมง รวมทั้งการดูแลทรัพยากรธรรมชาติทางทะเลของไทย และการแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย
ไปพร้อมกัน จึงต้องมีการสร้างความเข้าใจ รับฟ้งความคิดเห็น และร่วมกันกำหนดแนวทางการดำเนินการเพื่อให้ เป้าหมายของการออกใบอนุญาตด้งกล่าวมีประสิทธิภาพสูงสุดและสามารถบังคับใช้ได้จริง อีกทั้งกฎหมายจะมีการกำหนดโทษกรณีไม่มีใบอนุญาตเป็นโทษปรับอัตราโทษสูงถึง 1 แสนบาท ซึ่งอาจมีผลกระทบต่อการทำประมงพื้นบ้าน
ของพี่น้องชาวประมง ดังนั้นจึงตั้งใจว่า จะมีการลงพื้นที่เพื่อรับฟังความเห็นและข้อเสนอแนะจากพี่น้องชาวประมงให้
ได้มากที่สุด เพื่อนำไปพัฒนาวิธีการดำเนินการออกใบอนุญาตทำประมงพื้นบ้าน ให้มีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับวิถีชีวิตของพี่น้องประชาชนให้ได้มากที่สุด