"อาชีวะเดินหน้าป้องกันปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา"
18 มีนาคม 2566
ว่าที่ร้อยตรี ธนุ วงษ์จินดา เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา มอบหมายให้ นายทวีศักดิ์ คิ้วทอง ผู้อำนวยการศูนย์ความปลอดภัย สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (ศป.สอศ.) เป็นประธานในการจัดทำแผนการดำเนินงานรณรงค์ป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติดบูรณาการเชิงพื้นที่ กำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 18-20 มีนาคม 2566 ณ วิทยาลัยเทคนิคชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ
โดย นายประสิทธิ์ ทองรัศมี ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคนิคจังหวัดชัยภูมิ ปฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการสำนักงานอาชีวศึกษาชัยภูมิ และคณะครู วิทยาลัยเทคนิคชัยภูมิ เป็นเจ้าภาพ ในการดำเนินการครั้งนี้ มีผู้บริหาร ครู เจ้าหน้าที่ในพื้นที่ 9 จังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ เลย หนองบัวลำภู ขอนแก่น ชัยภูมิ มหาสารคาม นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ และศรีสะเกษ จากสถานศึกษาอาชีวศึกษา ภาครัฐ 25 แห่ง เอกชน 6 แห่ง โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้สถานศึกษาในจังหวัดกลุ่มเป้าหมายทำแผนการดำเนินงานรณรงค์ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดบูรณาการร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข เจ้าหน้าที่ตำรวจ สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน หวังให้ผู้เรียนอาชีวะ ซึ่งเป็นกลุ่มเสี่ยงได้มีภูมิคุ้มกัน รู้เท่าทันโทษและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เช่น กัญชา กระท่อม บุหรี่ไฟฟ้า ผู้เรียนที่มีพฤติกรรมเสี่ยงต้องได้รับการปรับพฤติกรรม ผู้เรียนกลุ่มเสพต้องได้รับการบำบัด ตามนโยบายกระทรวงศึกษาธิการด้านการป้องกันยาเสพติด
โดยนางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ คือ ป้องกัน ค้นหา บำบัดรักษา เฝ้าระวัง และการบริหารจัดการ
และตามยุทธศาสตร์ชมรม TO BE NUMBER ONE ทั้ง 3 ยุทธศาสตร์ ได้แก่ การรณรงค์ปลุกจิตสำนึกและสร้างกระแสนิยม การเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน การสร้างและการพัฒนาเครือข่ายฯ อีกทั้งวิธีการดำเนินงานใช้วงจรเดมมิ่งมาใช้เป็นขั้นตอนการดำเนินการ ที่มีการสร้างภูมิคุ้มกัน สู่การคัดกรองผู้เรียน กลุ่มเสี่ยงมีกิจกรรมรองรับให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และผู้เสพ ได้เข้ารับการบำบัด
โดยผู้ทรงคุณวุฒิ ดร. ธวัชชัย อุ่ยพานิช ดร.สาโจน์ ขอจ่วนเตี๋ยว ว่าที่ ร.ต.หญิง ดร.ทิตา ดวงสวัสดิ์ และ นายสราวุธ สมบูรณ์ เป็นผู้มีส่วนสำคัญทำให้แผนฯทุกสถานศึกษา สามารถนำไปใช้ได้จริง สอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษามุ่งเป้าสู่ผลความสำเร็จ out put และ out come ตามทฤษฎีระบบ ต่อไป