สถิติจากองค์การอนามัยโลกในปี 2021 พบว่า การหกล้มเป็นสาเหตุหลักอันดับที่ 2 ของการบาดเจ็บจนถึงแก่ชีวิต ราว 684,000 คนทั่วโลกเสียชีวิตจากการหกล้ม แน่นอนว่าผู้สูงอายุเป็นกลุ่มเสี่ยงสูงที่อาจเสียชีวิตจากการหกล้มได้ และแม้หลายกรณีจะไม่ถึงขั้นเสียชีวิต แต่กว่า 37.3 ล้านเคสของการหกล้มทั่วโลกก็หนักจนต้องได้รับการรักษาทางการแพทย์
การรู้สาเหตุและผลกระทบจากการล้ม ช่วยลดความสูญเสีย การบาดเจ็บ และผลกระทบต่อร่างกายได้ในระยะยาว
ล้มแล้วมีแต่เสี่ยง
หลายครั้งการล้มนำไปสู่การบาดเจ็บต่อศีรษะและสมอง ซึ่งเป็นสาเหตุให้พิการหรือเสียชีวิตได้ รวมถึงบาดเจ็บบนผิวหนัง และอวัยวะต่าง ๆ หลายครั้งพบ กระดูกสะโพกหัก กระดูกคอหัก ไปจนการทรุดลงของกระดูกสันหลังเมื่อล้มกระแทกที่อาจส่งผลอันตรายต่อชีวิตได้
รู้หรือไม่? ผู้สูงอายุที่ล้มสะโพกหักแล้วไม่ผ่าตัดรักษา กว่า 20% เสียชีวิตภายใน 1 ปี
แต่บางครั้งการล้มไม่ได้ส่งผลกระทบทันที บางคนไม่มีบาดแผล ไม่มีเลือดออก ไม่มีอาการขณะที่เกิดเหตุ แต่อาจมีเลือดคั่งหรือบาดเจ็บภายใน ดังนั้นการเคลื่อนไหวโดยไม่รู้ตัวและขาดความรู้ที่ถูกต้องอาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อร่างกาย ส่งผลต่อการรักษาได้ในระยะยาว เมื่อเกิดอุบัติเหตุหกล้มจึงควรติดต่อหรือประสานกับผู้ผู้เชี่ยวชาญทันที เพื่อเร่งนำส่งโรงพยาบาล
ความเชี่ยวชาญผสานนวัตกรรมช่วยลดความเสียหาย
หากล้มแล้วไม่ลุกให้จำไว้เสมอว่า การไปถึงมือผู้เชี่ยวชาญที่มีนวัตกรรมที่ทันสมัยพร้อมให้การรักษา 24 ชั่วโมง คือหัวใจสำคัญที่ช่วยให้ล้มแล้วรอด รักษาได้ไว อาการดีขึ้น ลดผลกระทบที่จะเกิดกับร่างกายในระยะยาว ซึ่งปัจจุบันศูนย์อุบัติเหตุ โรงพยาบาลกรุงเทพ พร้อมให้การรักษาแบบ Co – Management โดยมีผู้ชำนาญการสหสาขาวิชาชีพ (Multidisciplinary Team) ร่วมดูแลและวางแผนการรักษาอย่างครอบคลุม ในทุกขั้นตอนมีการประเมินและให้การรักษาแบบองค์รวม เพื่อประสิทธิภาพการรักษาที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้ป่วยและครอบครัว ผู้ป่วยฟื้นตัวได้เร็ว ไม่ต้องเจ็บแบบเรื้อรัง ลดความกังวลเรื่องค่าใช้จ่าย กลับมามีคุณภาพชีวิตที่ดีอีกครั้ง
ตรวจสุขภาพลดความเสี่ยงหกล้มจากปัจจัยภายใน
สิ่งที่หลายคนอาจไม่รู้คือ คนที่หกล้มในวัยต่าง ๆ อาจเกิดจากการขาดความรู้ ไม่ระมัดระวัง อยู่ในสภาพสังคมหรือการทำงานที่สุ่มเสี่ยง แต่การหกล้มในผู้สูงอายุนั้นมาจากปัจจัยภายในถึง 80% ทั้งจากความเสื่อมถอยของสภาพร่างกายตามวัย การทำงานที่ประสานกันได้ไม่ดีของอวัยวะในร่างกาย ซึ่งหลายอาการสามารถตรวจพบได้หากตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี หรือตรวจคัดกรองภาวะเสี่ยงต่าง ๆ อย่างการตรวจสุขภาพประจำปีสำหรับกลุ่มผู้สูงอายุวัย 60 ปีขึ้นไปทั้งผู้ชายและผู้หญิง การตรวจค้นหาสาเหตุภาวะกระดูกพรุน การตรวจคัดกรองสุขภาพสมอง การตรวจคัดกรองโรคพาร์กินสัน การตรวจประเมินความเสี่ยงล้มในผู้สูงวัยไปจนถึงการตรวจสุขภาพหัวใจ เพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี
นอกจากนี้จากคำแนะนำล่าสุดของกรมควบคุมโรค การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อ ช่วยให้เคลื่อนไหวและทรงตัวได้ดีขึ้น อย่างการออกกำลังกายที่ใช้แรงต้าน ลดการเดินขึ้นลงบันไดที่เพิ่มโอกาสเสี่ยงสะดุดและหกล้ม ใช้รองเท้าหุ้มส้นที่มีดอกยางเกาะกับพื้นได้ดี หากผู้สูงอายุมีปัญหาด้านการทรงตัว ควรใช้อุปกรณ์ช่วยเดินพยุง และควรลดการใช้ยาที่ไม่จำเป็น
ทั้งนี้หากล้มแล้วต้องเข้ารับการผ่าตัด โรงพยาบาลกรุงเทพพร้อมให้การผ่าตัดโดยทีมแพทย์เฉพาะทางสหสาขา ที่จะช่วยวินิจฉัย วางแผนและรักษาได้อย่างรวดเร็วตรงจุด ไม่ว่าจะเป็นแพ็กเกจ ผ่าตัดกระดูกสะโพกและข้อเข่า แพ็กเกจการผ่าตัดกระดูกสันหลัง แพ็กเกจการผ่าตัดสมอง ที่ช่วยให้คุณบาดเจ็บน้อย ฟื้นตัวได้ไว
#โรงพยาบาลกรุงเทพ #BangkokHospital
#SilverAgeCare #ล้มในผู้สูงอายุ