ภาคีท่องเที่ยวไทยจัดงานพาสมาชิก ร่วมกิจกรรม งานใต้ร่มพระบารมี 241 ปี กรุงรัตนโกสินทร์
ณ.วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฏิ์ราชวรมหาวิหาร ครั้งที่ 2
นั่งรถรางพาทัวร์! อุโมงค์ใต้ดินวัดพระแก้ว.... เที่ยว วัดคู่วัง ไหว้พระ ภวายดอกบัว ห่มผ้าต้นพระศรีมหาโพธ์ เสริมสิริมงคล
27 พฤษภาคม 2566 15.00 -21.00 น. ( จอดรถหน้าวัดสนามหลวง )
วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรมหาวิหาร เดิมเป็นวัดราษฎร์ชื่อวัดสลัก สร้างในสมัยอยุธยา ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เมื่อทรงสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานีเป็น “พระอารามหลวงแห่งแรก”
กำหนดการ ภาคีท่องเที่ยวไทย แต่งชุดไทยเที่ยววัดคู่วัง
วันเสาร์ที่ 27 พฤษภาคม 2566
15.00 น. พร้อมกันที่วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฏิ์
พระวิหารโพธ์ลังกา ตั้งอยู่บริเวณท้อง
สนามหลวง ถนนท่าพระจันทร์ แขวง
พระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร
กรุงเทพฯ
( จอดรถสนามหลวง ฝั่งตรงข้ามวัด
มหาธาตุยุวราชรังสฤษฏิ์ติดกับ
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ )
จากนั้นชมพระมณฑป สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท ทรงสร้างให้เป็นประธานของวัด เดิมมีเครื่องยอดแบบปราสาท แต่ต่อมาถูกเพลิงไหม้ จึงโปรดฯ ให้สร้างเป็นหลังคาลด 2 ชั้น ประดับช่อฟ้าใบระกา หน้าบันเป็นไม้แกะสลักปิดทองประดับกระจก ตรงกลางเป็นรูป ‘พระลักษณ์ทรงหนุมาน’ ซึ่งเป็นตราพระราชลัญจกรของกรมพระราชวังบวรสถานมงคล ด้านในประดิษฐานพระเจดีย์ทองซึ่งเป็นที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ เป็นเจดีย์เหลี่ยมย่อมุมไม้สิบสอง ซึ้งระหว่างชั้นฐานเจดีย์มีสิงห์นั่งกับครุฑแบกชมพระอุโบสถ ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ สักการะ “พระศรีสรรเพชญ์” พระประธานปางมารวิชัยที่สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท ทรงเคารพศรัทธาสูงสุด มีเรื่องเล่ากันว่าเมื่อพระองค์ใกล้สวรรคต ได้เสด็จขึ้นพระเสลี่ยงเพื่อทรงนมัสการพระพุทธรูปองค์นี้ ทั้งยังได้ทรงอุทิศถวายพระแสงดาบให้ทำเป็นราวเทียนเพื่อเป็นพุทธบูชา
ชมการแสดง – ครุทยุดนาค
ชมพระวิหาร ชมและสักการะ “หลวงพ่อหิน” พระพุทธรูปที่เคยเป็นพระประธานของวัดสลัก โดยมีเรื่องเล่าว่าสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท ขณะดำรงอิสริยยศ เป็นนายสุดจินดา มหาดเล็กหุ้มแพรได้เคยอธิษฐานว่า หากภายหน้าจะได้เป็นใหญ่แล้วจะมาปฏิสังขรณ์วัดแห่งนี้ให้รุ่งเรืองสืบไป
ชมพระวิหารโพธ์ลังกาเป็นพระวิหารน้อยสร้างในสมัยรัชกาลที่ 4 และเคยเป็นตำหนักที่ประทับของพระองค์เมื่อครั้งทรงพระผนวช ภายใน ประดิษฐานพระพุทธรูปสำคัญมีชื่อว่า “พระนาค” งดงามมาก ชมพระระเบียงเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูป ๑๐๘ องค์ (มีการสร้างเสริม ๔ องค์ รวม ๑๑๒ องค์)
สักการะสมเด็จพระบวรราชเจ้า มหาสุรสิงหนาท อยู่ด้านหน้าพระวิหารโพธิลังกา มีขนาดเท่าครึ่งอยู่ในลักษณะประทับยืนบนเกย หันพระพักตร์ออกสู่สนามหลวง พระหัตถ์ทั้งสองยกพระแสงดาบเป็นท่าจบเป็นพุทธบูชา ภายในบรรจุเนื้อดินซึ่งเก็บจากแผ่นดินที่สมเด็จพระบวรราชเจ้า มหาสุรสิงหนาท เสด็จกรีธาทัพเข้ามาเหยียบรวมทั้งสิ้น 28 แห่งไว้ใต้ฐาน
17.00 น. นำคณะนั่งรถราง ชม อุโมงค์ใต้ดินวัดพระแก้ว จากนั้นไปรับประทาน อาหารค่ำ ครัวคุณกุ้ง
19.00 น. นำคณะนั่งรถราง กลับมาที่วัด ร่วมพิธี ห่มผ้าต้นพระศรีมหาโพธ์ บริเวณ วิหารน้อย พร้อมถวายดอกบัว เสริมสิริมงคล
20.30 น. จบกิจกรรมพร้อมความประทับใจ
.
***กำหนดการอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม โดยคำนึงถึงประโยชน์ของสมาชิกเป็นหลัก***
ถวายดอกบัว - ความสำเร็จสมปรารถนา
ดอกบัวถือเป็นดอกไม้ไหว้พระยืนหนึ่ง เกี่ยวข้องกับศาสนาในสมัยพระพุทธกาล ที่ในพระพุทธกาล พระพุทธเจ้าได้พิจารณาดอกบัวสี่เหล่ า และเปรียบเทียบบุคคลเหมือนกับดอกบัว 4 เหล่านั้น คนที่เหมือนดอกบัวโผล่พ้นน้ำ พอมีแสงอาทิตย์ก็จะเบ่งบาน ก็เหมือนกับคนมีสติปัญญามาก เมื่อได้รับการฟังเทศนา ก็จะสามารถเข้าใจได้อย่างรวดเร็ว ดอกบัวจึงเปรียบเสมือน ผลบุญจากการถวายดอกไม้พระ
ถ้าหากถวายของหอมและดอกไม้สวย ๆ แก่พระ จะทำให้เกิดความสุขและความเจริญแก่ชีวิต ได้รับอานิสงค์ผลบุญ เกิดชาติหน้าจะส่งผลให้มีรูปร่างหน้าตาที่สวยงาม พรั่งพร้อมไปด้วยสมบัติ ทั้งโภคทรัพย์และอริยทรัพย์ ถ้าจากโลกนี้ไปแล้วจะทำไปสู่เทวโลก แวดล้อมไปด้วยหมู่เทวดา อยู่ในวิมานทองอย่างสุขสบาย
นอกจากการถวายดอกไม้และของหอมแล้ว การหมั่นทำจิตใจให้บริสุทธิ์และถวายด้วยความตั้งใจ จะช่วยทำให้ได้ผลบุญมากยิ่งขึ้นกว่าเดิมด้วยนะ เลือกดอกไม้ไหว้พระครั้งหน้า ก็ลองเลือกดอกไม้ที่สื่อความหมายและเสริมดวงให้ตรงจุด สั่งสมบุญไปทีละเล็กทีละน้อย จะได้ช่วยทำให้พรสมหวังได้เร็วขึ้น
ร่วมห่มผ้าไตรจีวร แด่ต้นพระศรีมหาโพธ จากพุทธคยา
ร่วมอธิษฐานจิต ร่วมบันทึกบุญใหญ่ ด้วยการลงชื่อนามสกุลของตนเอง ตลอดจนครอบครัว วงศ์ตระกูล บุพการี และผู้เคารพนับถือต้นพระศรีมหาโพธิ์(บาลี: โพธิรุกฺข) เป็นต้นโพธิ์ที่พระโคตมพุทธเจ้าเคยประทับและตรัสรู้ดังปรากฏในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาว่า ต้นโพธิ์เปรียบได้กับพุทธอุเทสิกเจดีย์อย่างหนึ่ง ทำให้พันธ์ต้นโพกลายเป็นพันธ์ุไม้ที่เป็นที่เคารพนับถือของชาวพุทธเสมอมานับแต่สมัยพุทธกาล
โดยความหมายของใบโพธิ์ : ใบ “โพธิ์” เป็นสัญลักษณ์แห่ง “พุทธะ” เพราะเป็นดั่งเครื่องหมายที่บ่งบอกถึง “การรู้ตื่น และเบิกบาน” เหนือกาลเวลา ด้วยเหตุนี้การเกิดขึ้นของต้นโพธิ์ จึงหมายถึงการเกิดขึ้นของพระพุทธเจ้าและการเกิดขึ้นของพระพุทธเจ้าก็เปรียบได้กับการเกิดขึ้นของใบโพธิ์เช่นกันบนผ้าห่มต้นพระศรีมหาโพธิ์
ขอบังคมก้มเกศาคารวะศรีรัตนมหาธาตุในราชวิหารมหาธาตุยุวราชรังตระการเป็นรากฐานกรุงไกรของไทยเราบารมีพระสารีริกธาตุของจอมศาสดาโลกอย่าโชคเฉาให้เรียนดีมีเงินใช้ไร้โรคเนาจนตราบเท่าถึงกาลนิพพาน เทอญฯ