วช. และ CASS จับมือร่วมจัด Think Tank Forum ครั้งที่ 3 ระดมนักวิจัย นักวิชาการ
ด้านจีนศึกษาร่วมการประชุม ณ กรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน
เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2566 ศ. (พิเศษ) ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวง
การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม นำคณะผู้บริหาร อว. พร้อมด้วย ศ.ดร.นพ. สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม, ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อํานวยการสํานักงานการวิจัยแห่งชาติ, ผศ.ดร.ชุมพล เสมาขันธ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, รศ.ดร.โฆษิต ศรีภูธร อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ราชมงคลอีสาน และ พล.ต.ท. พรชัย สุธีรคุณ ผู้อํานวยการสถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ พร้อมด้วยคณะนักวิจัยไทย เข้าร่วมการประชุมเชิงวิชาการ Think Tank Forum ครั้งที่ 3 (The 3rd Think Tank Forum) ณ กรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน
ภายใต้หัวข้อ “Ten Years of the Belt and Road: China-Thailand Partnership for Sustainable Development” โดยมีสถาบันสังคมศาสตร์จีน (Chinese Academy of Social Sciences: CASS) เป็นเจ้าภาพจัดการประชุม และ Professor Gao Xiang ประธานสถาบันสังคมศาสตร์จีน เป็นประธานกล่าวเปิดการประชุมฯ และ ศ. (พิเศษ) ดร.เอนก
เหล่าธรรมทัศน์ ร่วมปาฐกถาพิเศษในหัวข้อเรื่อง “ความสัมพันธ์ไทย-จีนกับการขับเคลื่อนประเทศด้วยวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม” โดยนักวิจัยที่มีความเชี่ยวชาญสูงได้ร่วมอภิปรายในหัวข้อ
3 session ได้แก่
1. “การแก้ปัญหาความยากจนและประกันสังคม”
2. “ความเชื่อมโยงระหว่างกันและการพัฒนาที่ยั่งยืน”
3. “ความร่วมมือด้านเทคโนโลยี วิทยาศาสตร์และนวัตกรรมไทย-จีน”
โดยมีประเด็นสำคัญ ดังนี้
“A Study of Poverty Alleviation Policy: A Comparative Study between Thailand and China” โดย ดร.ภูมิพัฒณ์ พงศ์พฤฒิกุล ผู้เชี่ยวชาญพิเศษด้านสายงานวิจัยและพัฒนา วิทยาลัย นานาชาติ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต นําเสนอเกี่ยวกับนโยบายการแก้ไขปัญหาความยากจนของไทย และจีน โดยการฉายภาพความสําเร็จของนโยบายการแก้ไขปัญหาความยากจนของจีนเปรียบเทียบกับ นโยบายแก้ไขปัญหาความยากจนของไทย ซึ่งจีนสามารถขจัดความยากจนได้อย่างเบ็ดเสร็จ มีจํานวนคนยากจนเท่ากับศูนย์ในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2563 โดยมีปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดความสําเร็จ อยู่ด้วยกัน 4 ปัจจัย ประกอบด้วย นโยบายจากผู้นํามีความจริงจัง มาตรการมีความเฉพาะเจาะจง(Targeted Poverty Eradication: TPE) การสนับสนุนให้พึ่งตนเองในระยะยาว และ ใช้วิทยาศาสตร์ นวัตกรรม และเทคโนโลยี
“A Table of Two Nations: Poverty and Social Protection Policies” โดย ดร. สมชัย จิตสุชน ผู้อํานวยการวิจัยด้านการพัฒนาอย่างทั่วถึง สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย นําเสนอ เกี่ยวกับความเหมือนและความต่างของนโยบายลดความยากจนของจีนและไทย ด้วยการเปรียบเทียบ ส่วนที่เหมือนและต่างกันของนโยบายฯ เช่น นโยบายความเหลื่อมล้ำ ประสิทธิภาพของภาครัฐ การกระจายอํานาจ การคุ้มครองทางสังคม การพัฒนาชนบท การกระตุ้นการจ้างงาน การคุ้มครอง แรงงาน การพัฒนาอุตสาหกรรมและภาคบริการ ความคุ้มครองทางสังคม การแก้ปัญหาความยากจน แบบมุ่งเป้าในระดับพื้นที่ ชุมชน และระดับครัวเรือน เป็นต้น เพื่อนําไปสู่การถอดบทเรียน ที่เป็นประโยชน์ต่อไป
“Research Collaboration on Climate Change between Thailand and China: Key Findings, Outputs and Ways Forwards” โดย รศ.ดร.อํานาจ ชิดไธสง รองผู้อํานวยการ บัณฑิตวิทยาลัยร่วมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี นําเสนอเกี่ยวกับความร่วมมือไทย-จีน ประเด็นการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ อาทิ การวิจัยร่วม การสัมมนาร่วม และการประชุมร่วม ซึ่งไทยได้ประโยชน์จากความร่วมมือดังกล่าวหลายด้าน อาทิ ด้านระบบมรสุม ด้านการทดลองการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ด้านการเปลี่ยนแปลง การใช้ประโยชน์ที่ดิน ด้านการใช้เทคโนโลยี
“Air Pollution and Health Effect” โดย ศ.ดร.พีระพงศ์ ทีฆสกุล ผู้อํานวยการศูนย์วิจัย มลพิษทางอากาศและผลกระทบต่อสุขภาพ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ นําเสนอเกี่ยวกับการใช้ รูปแบบเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Bio – Circular – Green Model) แก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศที่เกิดจากการเผาป่าหลังการเก็บเกี่ยวผลผลิตทางการเกษตร ไฟป่า การถางที่ดิน การเติบโตของเมือง จํานวนยานพาหนะที่เพิ่มขึ้น ซึ่งฝุ่นพิษที่เกิดขึ้นนั้นส่งผลต่อ สุขภาพในทุกระดับเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะทางเดินหายใจ อาทิ โรคปอดเรื้อรัง โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหอบ โรคหืด เป็นต้น
“The Importance of Chinese Technology to Thai Tourism” โดย นายชยาภัทร วารีนิล นักวิจัยสถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นําเสนอเกี่ยวกับ การพัฒนาการท่องเที่ยวด้วยเทคโนโลยีของจีน อาทิ เทคโนโลยีการขนส่ง ธนาคารบนมือถือและแอป พลิเคชัน การพัฒนาผังเมือง การใช้เทคโนโลยีในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งไทยควรเรียนรู้ และนํามาประยุกต์ใช้พัฒนาการท่องเที่ยวไทย ซึ่งจะก่อให้เกิดการจัดการระบบการท่องเที่ยว ที่มีประสิทธิภาพ การใช้พลังงานสะอาดในการขับเคลื่อนธุรกิจท่องเที่ยวและลดต้นทุน การเกิดขึ้น ของธุรกิจท่องเที่ยวรูปแบบใหม่ และการพัฒนาอย่างยั่งยืนของการท่องเที่ยวระหว่างประเทศ
“Thailand 4.0 – China 5.0: Some Observations on Thailand-China Scientific and Technological Exchanges and Collaboration” โดย ดร.อาร์ม ตั้งนิรันดร ผู้อํานวยการ ศูนย์จีนศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นําเสนอเกี่ยวกับภาพรวม ความสําเร็จ และข้อจํากัดของนโยบายประเทศไทย 4.0 (Digital Thailand) และประเทศจีน 5.0 (China 5.0) ซึ่งความสําเร็จของประเทศไทย 4.0 เกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล (Digital transformation) ได้รับการพิจารณาเป็นวาระระดับชาติ การลงทุนบนโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลอย่างต่อเนื่อง และการมา ของโรค COVID-19 ในขณะที่ประเทศจีน 5.0 คือ การที่ประเทศจีนมีจุดแข็งและความก้าวหน้า ด้านการวิเคราะห์และการประยุกต์ใช้ประโยชน์จากฐานข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) อาทิ Smart City ซึ่งมีการนําเอาเทคโนโลยีไปใช้แก้ปัญหาจราจร การบังคับใช้กฎหมาย รวมถึงอาชญากรรม และ Smart Government ซึ่งการติดต่อราชการ การจ่ายค่าน้ํา/ไฟ สามารถทําได้อย่างสะดวกสบาย
พร้อมนี้ยังมีนักวิจัยเชี่ยวชาญจากประเทศจีนร่วมนำเสนอในหัวข้อสำคัญต่าง ๆ ดังนี้
- “China’s Experience in International Poverty Alleviation” โดย Mr. Han Keqing
- “Chinese Exploration of Rural Poverty Reduction and Revitalization in Context of Sustainable Development” โดย Mr. Luo Jing
- “Policy Framework of China’s Carbon Peaking and Carbon Neutrality Goals” โดย Mr. Chen Ying
- “China’s Carbon Peaking and Carbon Neutrality Target and Global Climate Change Governance โดย Mr. Yu Xiang
- “Regional Economic Development in China and the Practice of Guangdong-Hong Kong-Macao Greater Bay Area” โดย Mr. Liu Jiajun
- “Technological Innovation in the Guangdong-Hong Kong-Macao Greater Bay Area – Situation, Characteristics and Experience” โดย Mr. Deng Zhou
ทั้งนี้สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ในฐานะหน่วยงานของรัฐที่มีพันธกิจให้ทุนวิจัยและนวัตกรรม ตลอดจนส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาบุคลากรด้านวิจัยและนวัตกรรมทั้งในและ
นอกประเทศ คาดหวังเป็นอย่างยิ่งว่าการประชุมเชิงวิชาการดังกล่าวจะเป็นเวทีเชื่อมโยงเครือข่ายนักวิจัย เพื่อให้เกิดการสร้างความร่วมมือเชิงวิชาการ และส่งผลกระทบถึงประเทศชาติด้านการวิจัยและนวัตกรรมต่อไป