ซินเจนทา ดันไทยส่งออกข้าวเพิ่ม คิดนวัตกรรมปราบเชื้อรา แก้โรคในนาข้าว ช่วยเพิ่มผลผลิต ยกคุณภาพชีวิตชาวนาไทย
“ข้าว” เป็นอาหารหลักของคนไทย และเป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญที่สร้างรายได้มหาศาลให้กับประเทศไทยจากการส่งออกมายาวนาน แต่ในปี 2565 ไทยเสียแชมป์ส่งออกข้าวให้กับเวียดนาม ผลผลิตของข้าวไทยและการแข่งขันข้าวในตลาดโลกของไทยร่วงลงมาอยู่อันดับ 3 โดนเวียดนามแซงขึ้นเป็นผู้ส่งออกข้าวอันดับ 2 ของโลก ซึ่งเดิมเวียดนามส่งออกข้าวประมาณ 7 ล้านตันต่อปี แต่เพียงแค่ 8 เดือน เวียดนามส่งออกถึง 5.81 ล้านตัน แซงหน้าไทยที่ส่งออกได้เพียง 5.27ล้านตัน จากข้อมูลของสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
อีกทั้ง คาดการณ์ล่าสุดของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรภายใต้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ระบุว่า การผลิตข้าวไทยจะลดลง 871,000 ตัน ข้าวเปลือก ลดลง 3.27% เหลือ 25.8 ล้านตัน ในช่วงฤดูเก็บเกี่ยวปี 2566-2567 โดยมีสาเหตุหลักมาจากปรากฏการณ์เอลนีโญ ซึ่งเป็นผลมาจากสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนไป และนอกจากปัญหาสภาพดิน ฟ้า อากาศ ที่ยากจะควบคุมแล้ว ผลผลิตข้าวของไทยยังมีความเสี่ยงลดลงเนื่องจาก แมลงศัตรูพืช และ “โรคในนาข้าว” ที่ส่งผลกระทบสร้างความเสียหายต่อผลผลิตและคุณภาพ ทำให้ได้ผลผลิตในปริมาณที่ต่ำลง โรคที่ระบาดอยู่ในขณะนี้ อาทิ โรคกาบใบแห้งหรือราหลุม โรคเมล็ดด่าง และโรคใบจุดสีน้ำตาล ซึ่งทั้งหมดเป็นโรคที่เกิดจาก “เชื้อรา” เกษตรกรจึงจำเป็นต้องรู้วิธีการป้องกันและจัดการเพื่อควบคุมโรคและวงจรของโรคในพื้นที่ปลูกข้าวให้ได้มากที่สุด
ดังนั้น บริษัท ซินเจนทา ประเทศไทย ผู้นำในด้านโซลูชั่นส์ด้านการเกษตรยุคใหม่ จึงมุ่งมั่นในการพัฒนานวัตกรรมใหม่เพื่อช่วยป้องกันการเกิดปัญหาโรคในนาข้าว ได้เปิดตัวผลิตภัณฑ์นวัตกรรมใหม่ ชื่อว่า “รีเฟลกซ์ อีโว่” พร้อมถ่ายทอดเทคโนโลยีความรู้การป้องกันโรคในนาข้าวในกับพี่น้องเกษตรกรชาวนา เมื่อวันที่ 6 ตุลาคมที่ผ่านมา ณ ศูนย์การเรียนรู้ซินเจนทา อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี ซึ่งมีกลุ่มผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวและเกษตรกรมืออาชีพ จากจังหวัดนครสวรรค์ กำแพงเพชร ชัยนาท สุพรรณบุรี พิษณุโลก และ นนทบุรี จำนวนมากกว่า 400 คน เข้าร่วมงานในครั้งนี้
นางสาวสุนิสา จัตุพร ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด บริษัท ซินเจนทา ครอป โปรเทคชั่น จํากัด กล่าวว่า “โรคในนาข้าวถือเป็นอุปสรรคอย่างมากของเกษตรกรชาวนา ไม่ว่าจะเป็น โรคกาบใบแห้งหรือราหลุม โรคเมล็ดด่าง โรคใบจุดสีน้ำตาล ก่อให้เกิดปัญหาตั้งแต่การปลูกจนกระทั่งเก็บเกี่ยว โดยเฉพาะช่วงข้าวกัดหางปลาทู ซึ่งเป็นช่วงระยะเวลาที่สำคัญในการสร้างรวงและการพัฒนาเกสร ที่เป็นจุดเริ่มต้นของเมล็ดข้าวที่มีคุณภาพ ข้าวเต็มเมล็ด ดังนั้นความท้าทายของซินเจนทาคือการคิดค้นพัฒนาผลิตภัณฑ์นวัตกรรมใหม่ๆที่สามารถช่วยตอบโจทย์และแก้ไขปัญหาให้กับเกษตรกรชาวนาให้สามารถปลูกข้าวได้โดยปราศจากโรคพืช เจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง และให้ผลผลิตที่มีคุณภาพเป็นที่น่าพอใจ ซึ่งนวัตกรรมนี้มีชื่อว่า “รีเฟลกซ์ อีโว่”
“รีเฟลกซ์ อีโว่” ได้รับอนุมติขึ้นทะเบียนในประเทศไทยเมื่อปี 2021 สำหรับป้องกันกำจัดโรคกาบใบแห้ง โรคเมล็ดด่างในนาข้าว ซึ่งเป็นเทคโนโลยีขั้นสูงมีสารออกฤทธิ์เรียกว่า “ไอโซไพราแซม” ทำหน้าที่เกาะติดกับใบพืชเคลือบอยู่ที่ชั้นผิวใบหลังจากทำการฉีดพ่นสาร สามารถช่วยปกป้องต้นข้าว แม้ต้องเผชิญอยู่ในสภาพอากาศที่มีฝนหรือแสงแดดก็ตาม และปกป้องพืชได้ยาวนาน ซึ่งหากข้าวถูกโรคเชื้อราหรือโรคพืชเข้าทำลาย “ไอโซไพราแซม” จะทำหน้าที่ล็อคเชื้อราและยับยั้งการทำงานของเชื้อราและกำจัดโรคพืชให้หมดไป ทำให้ต้นข้าวปลอดจากโรคเชื้อรา มีเกสรผสมสมบูรณ์ ออกรวงอย่างสม่ำเสมอ และเมล็ดแกร่ง ได้ผลผลิตที่เพิ่มขึ้น
นายณัฐวุฒิ ผึ้งเถื่อน และ นางสาวพรรษา น้อยเปลี่ยน เกษตรกรผู้ปลูกข้าวบนเนื้อที่กว่า 300 ไร่ อำเภอมโนรมย์ จังหวัดชัยนาท กล่าวว่า “ผมกับภรรยาทำนามา 16 ปี ทดลองใช้ ‘รีเฟลกซ์ อีโว่ ครั้งแรกเมื่อช่วงเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา โดยแบ่งฉีดเนื้อที่ประมาณ 10 ไร่ พบว่าข้าวที่ปลูกพันธุ์เดียวกันมีใบธงสีเขียวและมีขนาดใหญ่กว่า ไม่มีโรค ไม่เป็นรากระถิน ส่วนแปลงข้างกันที่ไม่ได้ฉีดประมาณ 20 ไร่ จะมีรากระถินเยอะ เมื่อเทียบกันแล้วแปลง 10 ไร่ ที่ใช้ ‘รีเฟลกซ์ อีโว่’ ได้ผลผลิตประมาณ 10-11 เกวียน ส่วนแปลง 20 ไร่ ได้ผลผลิตประมาณ 18 เกวียน หรือประมาณ 9 เกวียนต่อ 10 ไร่ ซึ่งเราทำนา 3 ครั้ง ต่อปี เมื่อก่อนราคาข้าวเปลือกประมาณ 7-8 พันบาท ต่อเกวียน ปัจจุบันราคาขึ้นมาประมาณหมื่นกว่าบาทต่อเกวียน เราก็มีรายได้เพิ่มขึ้นบวกกับการมีตัวช่วยป้องกันโรคในนาข้าว ยิ่งทำให้เรามีผลผลิตที่ดี ข้าวมีเมล็ดที่ใส สวย มีคุณภาพ สามารถนำไปขายเป็นแม่พันธุ์ดีได้อีกด้วย
“งานนี้เราได้ถ่ายทอดเทคโนโลยี ให้ความรู้ในการป้องกันโรคในนาข้าว ซึ่งพี่น้องเกษตรกรสามารถเห็นถึงความแตกต่างระหว่างการใช้สารตามวิถีของเกษตรกร และวิธีการใช้นวัตกรรมของซินเจนทาในแต่ละช่วงการเจริญเติบโตของต้นข้าว เพื่อให้พี่น้องเกษตรกรชาวนาไทยสามารถนำความรู้ที่ได้ไปต่อยอดในการปลูกข้าวที่ปลอดโรค ให้ผลผลิตที่สมบูรณ์ แข็งแรง เป็นที่น่าพอใจ สามารถสร้างรายได้เพิ่มมากขึ้น โดยซินเจนทามีความมุ่งหวังว่า นวัตกรรมดังกล่าวจะช่วยพยุงระดับผลผลิตของเกษตรกรซึ่งจะส่งผลช่วยให้ผลผลิตข้าวในระดับประเทศมั่นคงขึ้น ดันอันดับการส่งออกข้าวไทยให้ก้าวขึ้นมาอีกระดับ” นางสาวสุนิสา กล่าวเสริม
_______
เกี่ยวกับซินเจนทา หน่วยธุรกิจซินเจนทาอารักขาพืชและซินเจนทาเมล็ดพันธุ์ ประเทศไทย เป็นส่วนหนึ่งของ “ซินเจนทา กรุ๊ป” หนึ่งในบริษัทชั้นนำของโลกด้านวิทยาศาสตร์การเกษตร เรามุ่งมั่นช่วยเหลือประชากรโลกให้มีอาหารปลอดภัยพร้อมๆ ไปกับการดูแลโลก เรายังให้ความสำคัญกับการพัฒนาที่ยั่งยืน คุณภาพผลผลิตและความปลอดภัยทางการเกษตร ด้วยการนำนวัตกรรมและความเชี่ยวชาญทางวิทยาศาสตร์ระดับสากลมาใช้ เทคโนโลยีของซินเจนทา ช่วยให้เกษตรกรหลายล้านคนทั่วโลกได้ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรทางการเกษตรที่มีอยู่อย่างจำกัดได้ดีขึ้นสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.syngenta.co.th
______
#สมาคมหนังสือพิมพ์ส่วนภูมิภาคแห่งประเทศไทย